Table of Contents
กรดเกลือ 35%
กรดเกลือ
ขนาดบรรจุ
- 25 กก./ถัง
- 220 กก./ถัง
- 1,000 กก./แท็งค์
กรดเกลือ 35% ,กรดไฮโดรคลอริก
กรดเกลือมีลักษณะเป็นของเหลว สีขาว ใส เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า กรดไฮโดรคลอริก(อังกฤษ: hydrochloric acid), โดยมีสูตรเคมีเป็น HCl เป็นสารละลายใส อาจมีสีเหลือง หรือขาว ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเจือปน กรดเกลือมีกลิ่นฉุน กัดกร่อนรุนแรงมีควัน ทำให้แสบจมูก
สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างมากในวงการอุตสาหกรรม นั่นก็คือ กรดเกลือ
เรามาทำความรู้จักกับกรดเกลือกันครับ กรดเกลือ 35% หรือ กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) 35% เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรด สามารถละลายได้ในน้ํา สามารถกัดกร่อนสูง เป็นกรดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ: hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด
ถูกค้นพบโดย “ญาบิร” (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต โพลียูรีเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl
สูตรทางเคมี : HCl

คุณสมบัติของกรดเกลือ
สูตรเคมี : HCl in water (H2O) มวลต่อหนึ่งโมล : 36.46 g/mol (HCl) ลักษณะทางกายภาพ : สีใส หรือใสออกเหลือง Clear colorless to light-yellow liquid ความหนาแน่น : 1.18g/cm3 จุดหลอมเหลว : −27.32 °C (247 K) 38% solution. จุดเดือด : 110 °C (383 K) ,20.2% solution; 48 °C (321 K) , 38% solution. ความสามารถละลายได้ในน้ำ : ละลายในน้ำได้ Miscible. pKa −8.0 ความหนืด : 1.9 mPa·s at 25 °C, 31.5% solution กรดเกลือมีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ผุ กร่อนอย่างรุนแรง เมื่อสัมผัสกับน้ำ อาจมีควันแสบจมูก
การผลิตกรดเกลือ
ในการผลิต กรดไฮโดรคลอริกปริมาณมากๆ จะเกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบเคมีตัวอื่นๆในเชิงอุตสาหกรรมด้วยในอุตสาหกรรม คลอร์-อัลคะไล สารละลายเกลือจะถูกอิเล็กโตรไลซ์ จนได้ผลผลิตออกมาเป็นคลอรีน, โซเดียมไฮดรอกไซด์, และก๊าซไฮโดรเจน คลอรีนบริสุทธิ์ จะมาผสมกับก๊าซไฮโดรเจนแล้วเกิดเป็นก๊าซ HCl บริสุทธิ์ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ เอ็กโซเทอร์มิก, ระบบติดตั้งนี้เรียกว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ โอเวน Cl2 + H2 → 2HCl ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์บริสุทธิ์ถูกดูด (absorption) ลงน้ำ ดีมิเนอไลซ์ได้เป็นกรดเกลือบริสุทธิ์ต่อไป
การนำกรดเกลือไปใช้งาน
กรดเกลือ (HCl) 35% สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น
- กรดเกลือใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมสี ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมโรงชุบและโลหะ
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง
- กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ
- ใช้ล้างคราบปูน คราบตะไคร่น้ำ
- การใช้ประโยชน์กรดเกลือ
การเลือกซื้อ กรดเกลือ
– เลือกความเข้มข้นที่ 35% – ขนาดบรรจุของกรดเกลือมี 2 ขนาดดังนี้ * บรรจุ 25 กิโลกรัม ต่อถัง ใช้งานง่าย ขนส่งง่าย * บรรจุ 200 กิโลกรัม ต่อถัง เป็นขนาดที่บรรจุในปริมาณมาก สำหรับการขนส่งครั้งล่ะมากๆ – หากต้องการใช้กรดเกลือ จำนวนมาก สามารถสั่งกับทางเราได้เลยครับ
กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งาน
อุปกรณ์การป้องกัน เมื่อใช้กรดเกลือ – ถุงมือยาง จำเป็นต้องใส่ถุงมือยางทุกครั้งที่ใช้กรดเกลือ เพราะกรดเกลือมีความกัดกร่อนสูง – รองเท้ายาง รองเท้ายางใส่ป้องกันกรดเกลือในระหว่างการใช้งาน – แมส สวมป้องกันจมูก ป้องกันการสูดดมไอระเหย ของกรดเกลือ – สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ระหว่างการใช้งานกรดเกลือควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อป้องกันกรดเกลือถูกผิวหนัง – แว่นตาป้องกัน เพื่อการระเหยของกรดเกลือไม่ให้เข้าตา
การปฐมพยาบาล หากได้รับอันตรายจากการใช้กรดเกลือ
– หากกรดเกลือสัมผัสผิวหนัง อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ หรือระคายเคือง ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆนาที ให้น้ำไหลผ่าน ล้างกรดเกลือออกให้หมด หากหกใส่เสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออก แล้วทำความสะอาดแผล หากมีแผล – หากสัมผัสดวงตา กระเด็นเข้าตา ให้ล้างตาเป็นเวลานานหลายๆ นาที แล้วไปพบแพทย์ – หากกลืนกิน ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดเยอะๆ ห้ามทำให้อาเจียน แล้วไปพบแพทย์ – หากสูดดม ให้ออกมาจากบริเวณที่มีฝุ่นคลุ้งของกรดเกลือ ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์บริเวณอื่นๆ
ขอขอบคุณข้อมูลกรดเกลือ จาก https:/www.thaimetallic.com/2021/04/28/กรดเกลือ-35/