กรดเกลือ


แชร์ให้เพื่อน :

Last Updated on February 29, 2024 by admin02

กรดเกลือ ความเข้มข้น 35%

กรดเกลือ หรือ กรดไฮโดรคลอริก

กรดเกลือ คืออะไร?

กรดเกลือมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ของเหลว สีขาว ใส เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า “กรดไฮโดรคลอริก(อังกฤษ: hydrochloric acid), สูตรเคมีของกรดเกลือคือ “HCl” กรดเกลือเป็นสารละลายสีใส อาจมีสีเหลือง หรือขาว ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเจือปน กรดเกลือมีกลิ่นฉุน กัดกร่อนรุนแรงจนเกิดควัน ทำให้แสบจมูก กรดเกลือถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย

กรดเกลือ ของอาซาฮี ผลิตในประเทศไทย มีใบรับรองคุณภาพการผลิต สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี 

 

  • กรดเกลือเป็นน้ำกรดชนิดหนึ่ง มีความเข้มข้น 35%
  • สูตรทางเคมีของกรดเกลือ คือ HCl (ไฮโดรเจนคลอไรด์ )
  • กรดเกลือเป็นสารประกอบเคมีประเภท กรดเข้มข้น
  • กรดกลือสามารถละลายน้ำได้ มีฤทธิ์กัดกร่อน
  • เป็นกรดแก่ คือ มีความเป็นกรดสูงมาก
  • กรดเกลือยังพบได้ในกระเพาะอาหารของมนุษย์  มีประโยชน์ช่วยในการย่อยเนื้อสัตว์ ที่เรากินเข้าไป
  • กรดเกลือถูกค้นพบโดย “ญาบิร” (Jabir ibn Hayyan) นักวิทยาศาสตร์เคมี ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

 

 

คุณสมบัติเฉพาะของกรดเกลือ

  • สูตรเคมีของกรดเกลือ : HCl
  • มวลต่อหนึ่งโมล : 36.46 g/mol (HCl)
  • ลักษณะทางกายภาพ : สีใส หรือใสออกเหลือง Clear colorless to light-yellow liquid
  • ความหนาแน่น : 1.18g/cm3
  • จุดหลอมเหลว : −27.32 °C (247 K) 38% solution.
  • จุดเดือด : 110 °C (383 K) ,20.2% solution; 48 °C (321 K) , 38% solution.
  • ความสามารถละลายได้ในน้ำ : ละลายในน้ำได้
  • ความหนืด : 1.9 mPa·s at 25 °C, 31.5% solution
  • กรดเกลือมีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ผุกร่อนอย่างรุนแรง เมื่อสัมผัสกับน้ำ อาจมีควันแสบจมูก

 

ขนาดบรรจุกรดเกลือ กรดเกลือมีขนาดบรรจุดังนี้

  • ประเภทขวดละ 1 ลิตร
  • ประเภทแกลลอน 20-25 กิโลกรัม/ถัง (แบบถัง 20 ลิตร)
  • ประเภทถัง 200 กิโลกรัม/ถัง (แบบถัง 200 ลิตร)
  • ประเภทแทงค์ หรือ เบาท์ 1,000 กิโลกรัม/แท็งค์

 

การผลิตกรดเกลือ

ในการผลิต กรดเกลือ ปริมาณมากๆ จะเกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบเคมีตัวอื่นๆในเชิงอุตสาหกรรมด้วยในอุตสาหกรรม คลอร์-อัลคะไล สารละลายเกลือจะถูกอิเล็กโตรไลซ์ จนได้ผลผลิตออกมาเป็น คลอรีน, โซเดียมไฮดรอกไซด์ ,ก๊าซไฮโดรเจน  คลอรีนบริสุทธิ์ จะมาผสมกับก๊าซไฮโดรเจนแล้วเกิดเป็นก๊าซ HCl บริสุทธิ์ และผ่านขั้นตอนต่างๆจนได้ รดเกลือ  บริสุทธิ์ต่อไป

 

การนำกรดเกลือไปใช้งาน

กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรม

กรดเกลือ เข้มข้น 35% สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น

  • กรดเกลือใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมสี ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมโรงชุบและโลหะ
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง
  • กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ
  • กรดเกลือใช้ล้างคราบปูน คราบตะไคร่น้ำ ในครัวเรือน

 

กรดเกลือใช้ในบ้านเรือน

การใช้กรดเกลือทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ในบ้าน

  • ใช้ทำความสะอาดคราบตะไคร่น้ำบนพื้นปูน พื้นกระเบื้อง
  • ใช้ทำความสะอาดคราบฝังแน่นในห้องน้ำ หรือชักโครก
  • ใช้กดรดเกลือล้างคราบสนิม หรือกำจัดสนิม 

 

การเลือกซื้อ กรดเกลือ

  • เลือกซื้อกรดเกลือความเข้มข้นที่ 35% โดยสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย
  • ขนาดบรรจุของกรดเกลือที่มีจำหน่าย มี 2 ขนาดดังนี้
    บรรจุ 25 กิโลกรัม ต่อถัง ใช้งานง่าย ขนส่งง่าย
    – บรรจุ 200 กิโลกรัม ต่อถัง เป็นขนาดที่บรรจุในปริมาณมาก สำหรับการขนส่งครั้งล่ะมากๆ
  • สอบถามใบรับรองมาตรฐาน จากผู้ขาย เพราะผู้ขายจะต้องมีใบรับรองคุณภาพของกรดเกลือ

 

กรดเกลือซื้อได้ที่ไหน

  • ร้านเคมีภัณฑ์หรือร้านอุปกรณ์การเกษตร

  • ร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป

  • แพลตฟอร์มออนไลน์เช่น shopee , lazada

  • บริษัทเทรดเดอร์ที่ขายเคมีภัณฑ์

 

 

ข้อควรระวังในการใช้กรดเกลือ

อุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น เมื่อใช้กรดเกลือ

  • ถุงมือยาง จำเป็นต้องใส่ถุงมือยางทุกครั้งที่ใช้กรดเกลือ เพราะกรดเกลือมีความกัดกร่อนสูง
  • รองเท้ายาง รองเท้ายางใส่ป้องกันกรดเกลือในระหว่างการใช้งาน
  • แมส สวมป้องกันจมูก ป้องกันการสูดดมไอระเหย ของกรดเกลือ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ระหว่างการใช้งานกรดเกลือควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อป้องกันกรดเกลือถูกผิวหนัง
  • แว่นตาป้องกัน เพื่อการระเหยของกรดเกลือไม่ให้เข้าตา

 

การปฐมพยาบาล หากได้รับอันตรายจากการใช้กรดเกลือ

หากกรดเกลือสัมผัสผิวหนัง

หากกรดเกลือ สัมผัสผิวหนัง อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ หรือระคายเคือง ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆนาที ให้น้ำไหลผ่าน ล้างกรดเกลือออกให้หมด หากหกใส่เสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออก แล้วทำความสะอาดแผล หากมีแผล

 

หากกรดเกลือเข้าตา

หากกรดเกลือ สัมผัสดวงตา กระเด็นเข้าตา ให้ล้างตาเป็นเวลานานหลายๆ นาที แล้วไปพบแพทย์

 

หากกลืนกินกรดเกลือ

หากกลืนกิน หากเผลอกินกรดเกลือ ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดเยอะๆ ห้ามทำให้อาเจียน แล้วไปพบแพทย์

 

หากสูดดมกรดเกลือ

หากสูดดมกรดเกลือ ให้ออกมาจากบริเวณที่มีฝุ่นคลุ้งของกรดเกลือ ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์บริเวณอื่นๆ


กรดเกลือ
กรดเกลือ หรือกรดไฮโดรคลอริก

 

ขนาดบรรจุของกรดเกลือ
ขนาดบรรจุของกรดเกลือ
สูตรทางเคมีของกรดเกลือ
สูตรทางเคมีของกรดเกลือ

 

กรดเกลือมีลักษณะใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน

 

ถังกรดเกลือ บรรจุ 200 ลิตร
ถังกรดเกลือ บรรจุ 200 ลิตร
ถังกรดเกลือ บรรจุ 20 ลิตร
ถังกรดเกลือ บรรจุ 20 ลิตร
การขนส่งกรดเกลือ
การขนส่งกรดเกลือ

 

กรดเกลือ
รายละเอียดบนฉลากกรดเกลือ

 

อุปกรณ์ป้องกันเมื่อใช้กรดเกลือ
อุปกรณ์ป้องกันเมื่อใช้กรดเกลือ

 



  • ข้อมูลอัพเดท มกราคม 2567
แชร์ให้เพื่อน :