Last Updated on February 2, 2024 by admin03
โซดาไฟ (อัพเดท 2567)
Table of Contents
โซดาไฟ คืออะไร
- โซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide – NaOH) เป็นสารเคมีที่ใช้งานได้ทั้งในบ้านเรือนทั่วไป และอุตสาหกรรมทั่วๆไป
- ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นได้ดี ละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติเป็นเบสแก่(ด่าง) และมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง
– ในบ้านเรือนใช้ทำความสะอาด หรือแก้ปัญหาท่อระบายตัน หรือทำความสะอาดคราบฝังแน่น
– ในอุตสาหกรรม ใช้ได้หลายอย่างเช่น ทำสบู่ โรงงานล้างขวด หรือ โรงงานทำน้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น
คุณสมบัติของ โซดาไฟ
- เป็นของแข็งสีขาว อาจมีรูปร่างเป็นเกล็ด เม็ด แผ่น หรือแท่ง ไม่มีกลิ่น แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง สามารถทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ยได้ในเวลาเสี้ยววินาที
- เป็นสารที่สามารถดูดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความร้อนเมื่อถูกละลายด้วยน้ำ
- เป็นสารเบสแก่ มีความเป็นด่างมาก สามารถปรับสภาพความเป็นกรดของสารอื่น ๆ ได้
โซดาไฟที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
- โซดาไฟจีน ผลิตในประเทศจีน
- โซดาไฟไทย-อาซาฮี ผลิตในประเทศไทย
- โซดาไฟไต้หวัน ผลิตในประเทศไต้หวัน
- โซดาไฟอินเดีย ผลิตในประเทศอินเดีย
โซดาไฟแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- โซดาไฟแบบเกล็ด แข็ง หรือไข่มุก เป็นโซดาไฟแบบของแข็ง ผลิตและบรรจุในกระสอบ
- โซดาไฟแบบน้ำ เป็นการนำโซดาไฟแบบเกล็ดมาละลายน้ำ แล้วบรรจุในถัง
การใช้งานโซดาไฟ
1. การใช้งานในครัวเรือน
- ใช้ล้างภาชนะ ล้างคราบไขมัน
- ใช้ล้างสีตก ล้างคราบสนิม
- ใช้ทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ ล้างคราบหินปูน ตะไคร่น้ำ
- ใช้ดับกลิ่นอับ กลิ่นเหม็น
- ใช้ทำสบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า โซดาไฟใช้ทำสบู่
2. การใช้งานในอุตสาหกรรม
- ใช้ผลิตสบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า
- ใช้ฟอกขาวเยื่อกระดาษ
- ใช้ผลิตสารเคมีอื่นๆ เช่น โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์
- ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น การผลิตคอนกรีต การผลิตอิฐ
3. การใช้งานอื่นๆ
- ใช้ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย
- ใช้กำจัดวัชพืช หญ้า ต้นไม้ที่ไม่ต้องการ
- ใช้ผลิตปุ๋ย
ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ
- โซดาไฟเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง หากสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือไหม้ได้ ดังนั้น ควรใช้โซดาไฟด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
- ควรสวมถุงมือ แว่นตา และหน้ากากป้องกันทุกครั้งขณะใช้โซดาไฟ
- ควรใช้โซดาไฟในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- หากสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา ควรรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที
- หากสูดดมโซดาไฟเข้าไป ควรรีบไปพบแพทย์
- ควรเก็บโซดาไฟไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง