โซดาไฟ


โซดาไฟ

“โซดาไฟ หรือคอสติกโซดา เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) มีสูตรทางเคมีคือ NaOH เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ดี มีฤทธิ์กัดกร่อน ใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม”

โซดาไฟสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กับฟาร์ม ใช้กับการผลิต และอื่นๆ

จำหน่ายโซดาไฟเกล็ด จีน,ไทย,อินเดีย,ไต้หวัน (food grade) ราคาโรงงาน จัดส่งทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดได้เลยครับ  อัพเดทโซดาไฟ ที่มีขายตอนนี้  

โซดาไฟเกล็ดจีน


โซดาไฟไทย อาซาฮี

  • โซดาไฟ ไข่มุก อาซาฮี
  • โซดาไฟเกล็ด อาซาฮี

โซดาไฟไต้หวัน

  • โซดาไฟไข่มุก ไต้หวัน
  • โซดาไฟเกล็ด ไต้หวัน

โซดาไฟเกล็ดอินเดีย


โซดาไฟจีน เป็นโซดาไฟที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีราคาถูก นำเข้ามาจำนวนมาก และมีการซื้อขายกับไทย ในปริมาณมาก โซดาไฟจีนสามารถใช้งานได้ในหลากหลายอุตสหกรรม 


เป็นโซดาไฟ ที่นิยมใช้งานในประเทศไทย ด้วยคุณภาพที่สามารถไว้ใจ้ได้ ที่สำคัญโซดาไฟไต้หวันได้รับมาตรฐาน NSF คือ สามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่มได้ นั่นเอง โซดาไฟไต้หวันมีทั้งแบบ เกล็ด และ แบบไข่มุก 


โซดาไฟ อาซาฮี เป็นโซดาไฟ ที่ผลิตในไทย  ซึ่งในปุจจุบัน บริษัทที่ผลิตโซดาไฟอาซาฮีไทย คือบริษัท AGC ได้ควบรวมกับบริษัท Vinythai แล้ว ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น และยังผลิตโซดาไฟที่ได้มาตรฐาน โซดาไฟไทยอาซาฮีมีทั้งแบบเกล็ด และแบบไข่มุก ที่สำคัญยังได้รับมาตรฐาน NSF อีกด้วย


  • โซดาไฟ อินเดีย เป็นโซดาไฟที่ผลิตจากประเทศอินเดีย เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โซดาไฟอินเดียได้รับมาตรฐาน NSF เช่นเดียวกัน ทำให้โซดาไฟอินเดียสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และน้ำดื่มได้ 


โซดาไฟ โซเดียมไฮดรอกไซด์

(Sodium hydroxide) ,สูตรทางเคมี (NaOH) หรือ คอสติกโซดา (Caustic soda)  โซดาไฟ หรือโซดาไฟแผดเผา เรามักรู้จักกันดีในการใช้เพื่อกำจัดสิ่งอุดตันในท่อ ชักโครกหรือท่อระบายน้ำ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วโซดาไฟคืออะไร และมีประโยชน์ที่มากกว่าแค่ใช้แก้ท่ออุดตัน อย่างไร ลองมาดูกันครับ 

ชื่อเรียกทางเคมี Sodium hydroxide
ชื่ออื่น Caustic soda
ชื่อภาษาไทย โซดาไฟ,โซดาไฟแผดเผา
สูตรเคมี NaOH
มวลต่อหนึ่งโมล 39.997 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ เป็นเกล็ดสีขาว ขุ่น ไม่ติดไฟ ดูดความชื้นได้ดี
ความหนาแน่น 318 °C (591 K)
จุดหลอมเหลว 318 °C (591 K)
จุดเดือด 1390 °C (1663 K)
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 111 g/100 ml (20 °C)
จุดวาบไฟ ไม่ติดไฟ

สูตรทางเคมีของ โซดาไฟ NaOH

โซดาไฟ

โซดาไฟ หรือคอสติกโซดา (อังกฤษ: caustic soda) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า คือ “สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน” โซดาไฟถูกใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ


คุณลักษณะของโซดาไฟ

โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟมีทั้งชนิดสารละลาย และชนิดแข็ง (ผง, เกล็ด, เม็ด) มีฤทธิ์เป็นด่างแก่  เป็นสารละลายไส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น โซดาไฟเป็นของแข็งสีขาว 

  • ทําปฏิกิริยารุนแรงกับสารหลายชนิด เช่น กรดทุกชนิด สารประกอบฮาโลเจนที่เป็นสารอินทรีย์ และ ไตรคลอโรเอทธีลีน
  • เมื่อสัมผัสกับโลหะ อาทิ อลูมิเนียม ดีบุก และสังกะสี ทําให้เกิดก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งไวไฟ
  • เมื่อละลายน้ําจะทําให้เกิดความร้อน ถ้าเกิดความร้อนสูงฉับพลันอาจเกิดการกระเด็นได้
  • เป็นของแข็งสีขาว เป็นเกล็ด ขุ่นขาว
  • ไม่มีกลิ่น โดยทั่วไปแล้วอยู่ในรูปของสารละลาย
  • ดูดความชื้นได้ดีมาก
  • เป็นด่างแก่ละลายน้ำได้ดี
  • ผลิตจากกระบวนการแยกสารทางไฟฟ้า (Electrolysis) ของน้ำเกลือ
  • ไม่ติดไฟ

ลักษณะทางกายภาพของโซดาไฟ

ลักษณะทางกายภาพของโซดาไฟ ส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นดังนี้  1.โซดาไฟเกล็ด 2.โซดาไฟน้ำ 3.โซดาไฟไข่มุก   โซดาไฟก้อน หรือเกล็ด เป็นสถานะปกติของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของแข็ง มีลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะให้ฤทธิ์เป็นด่างแก่ ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม และมีใช้บ้างในภาคครัวเรือน และการเกษตร ลักษณะของโซดาไฟเกล็ด

โซดาไฟเป็นเกล็ด สีขาวขุ่น

โซดาไฟเหลว หรือโซดาไฟน้ำ  เป็นผลิตภัณฑ์ของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของเหลวที่ละลายอยู่ในตัวทำละลาย (น้ำ) เป็นโซดาไฟเกล็ดที่นำมาละลายน้ำ  มีฤทธิ์เป็นด่าง ไม่มีกลิ่น แต่สามารถเกิดไอระเหยได้ เมื่อสัมผัสจะลื่นเหมือนสบู่ พบจำหน่ายมากในปัจจุบัน ได้แก่ โซดาไฟ 32% และ50% เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม 

โซดาไฟน้ำ

 

โซดาไฟน้ำ

โซดาไฟไข่มุก โซดาไฟไข่มุกเป็นโซดาไฟที่มีทรงกลมเท่าๆกันคล้ายไข่มุก จากผลการทดลองพบว่ามีคุณสมับติการใช้งานที่ดี ส่วนมากใช้ในอุตกสากหรรมเครื่องสำอางค์ เช่นผลิตสบู่ ,น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น 



การใช้งานโซดาไฟ

โซดาไฟ สามารถใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจริงๆแล้ว หลายๆโรงงานก็ใช้โซดาไฟ ในหลายขั้นตอน เช่น

  • อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ (Pulp and paper) ใช้ในการกำจัดสีหมึกออกจากกระดาษเก่า และใช้ในกระบวนการต้มเยื่อกระดาษ
  • อุตสาหกรรมผลิตเส้นใย (Textiles) ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (เช่น ไนลอน และโพลีเอสเตอร์)
  • อุตสาหกรรมผลิตสบู่และสารซักล้าง (Soap and detergents) ใช้ทำปฏิกิริยาเพื่อเปลี่ยนน้ำมันพืชหรือไขมันจากสัตว์เป็นสบู่
  • อุตสาหกรรมการผลิตอลูมิเนียม (Aluminum production) ใช้เป็นตัวทำละลาย ละลายแร่บ๊อกไซท์(Bauxite) ซึ่งเป็นสินแร่ในการผลิตโลหะอลูมิเนียม
  • การขุดสำรวจหาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ และการปรับปรุงสมบัติของปิโตรเลียมและก๊าซในกระบวนการผลิต ใช้ในการกำจัดกลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟด์ และสารประกอบซัลไฟด์อื่น ๆ

เป็นต้น

  การใช้สารเคมีแก้ปัญหาท่ออุดตัน เวลาที่ท่อระบายน้ำทิ้งต่าง ๆ อุดตัน ส่วนใหญ่จะนึกถึง โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ บางครั้งรู้จักกันในชื่อ สารเคมีผงมัน หรือ โซดาแผดเผา สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป หรือร้านขายอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน คุณลักษณะสารเคมีเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น มีฤทธิ์เป็นด่าง ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก ร้อน และสามารถกัดผิวหนังให้เปื่อยยุ่ยได้ในระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที ผู้คนส่วนมากอาจจะไม่รู้ถึงคุณลักษณะของสารเคมี และการทำปฏิกิริยาทางเคมีดีพอ เมื่อนำไปใช้งานจริงทำให้เกิดปัญหาติดตามมาอย่างคาดไม่ถึง เช่น เวลาที่ท่ออุดตัน ก็จะไปซื้อโซดาไฟ มาเทใส่ลงไปในท่อที่อุดตัน (วิธีใช้งาน ควรใส่โซดาไฟในภาชนะที่มีน้ำอยู่ก่อน แล้วคนให้ละลายให้หมดก่อนที่จะนำไปเทใส่ท่อระบายน้ำ เพื่อกันไม่ให้โซดาไฟไปเกาะผนังท่อเพิ่มการอุดตันอีก) การแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ สามารถใช้ได้กับการอุดตันบางประเภทเท่านั้นเอง เช่น การอุดตันที่เกิดจากคราบไขมัน คราบสบู่ คราบผงซักฟอก

โซดาไฟ ใช้บำบัดน้ำเสีย

การเลือกซื้อโซดาไฟ 

การเลือกซื้อโซดาไฟ ต้องพิจารณาสิ่งต่างๆดังนี้ 

  • ความเข้มข้น เช่นโซดาไฟเข้มข้น 50% ,98% ,99% เป็นต้น ว่าเราใช้โซดาไฟในอุตสาหกรรมไหน และใช้ความเข้มข้นที่เท่าไหร่
  • ดูว่าโซดาไฟที่ต้องการใช้เป็นโซดาไฟน้ำ หรือ โซดาไฟเกล็ดเพราะการใช้งานจะต่างกัน 
  • ประเทศและโรงงานที่ผลิตโซดาไฟ เพราะโซดาไฟที่ขาย นั้นนำเข้ามาจากหลายประเทศ เช่น จีน,ไทย,อินเดีย,ไต้หวัน เป็นต้น ทั้งนี้เราต้องรู้ว่าเป็นโซดาไฟจากที่ไหน 
  • คุณภาพของโซดาไฟ ในการตัดสินใจเลือกซื้อโซดาไฟ อาจจะต้องขอเอกสารรับรองคุณภาพ เพิ่มเติมจากผู้ขาย

การทดสอบ โซดาไฟ

ในการเลือกใช้งานโซดาไฟ เราต้องการโซดาไฟที่ได้ประสิทธิภาพและใช้งานได้ดีในอุตสาหกรรมของเรา นอกจากการขอใบรับรองคุณภาพของโซดาไฟ จากผู้ขายแล้ว วิธีการง่ายๆ ในการทดสอบคุณภาพของโซดาไฟด้วยตัวเอง เราก็สามารถทำได้ดังนี้ เตรียมสิ่งของดังนี้

  1. โซดาไฟที่ต้องการทดสอบ
  2. น้ำเปล่า
  3. ขวดแก้ว หรือแก้วน้ำ

การทดสอบคือให้ลองนำโซดาไฟไปละลายน้ำโดยละลายในภาชนะที่เป็นแก้ว เช่นขวดแก้วคนให้โซดาไฟละลาย โซดาไฟจะเกิดความร้อน อาจจะมีควันขึ้น และต้องใส ไม่มีสีแดงหากขุ่น หรือหากมีสีแดงถือว่าผิดปกติ วิธีการทดสอบโซดาไฟแบบง่ายๆนี้ สามารถนำไปทดสอบโซดาไฟที่สั่งมาใช้ได้


การผลิตโซดาไฟ

การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟ โซดาไฟผลิตอย่างไร และผลิตจากอะไรลองมาศึกษากันดูครับ  1. การผลิตจากสารละลาย NaCl หรือเกลือแกง เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ และเกลือหิน  ด้วยหลักการอิเล็กโทรไลซิสของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ เมมเบรนเซลล์ (Membrane cell) และไดอะแฟรม เซลล์ (Diaphragm cell) โดยการนำเกลือมาแยกด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสตรงทำให้เกิดก๊าซคลอรีน และโซเดียมไอออน จากนั้นโซเดียมไอออนจะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์จนเกิดโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซคลอรีน ดังสมการ 2NaCl + H2O+2e- = H2 + 2NaOH + Cl2   กระบวนการผลิตโซดาไฟ เริ่มต้นจากน้ําเกลือโซเดียมคลอไรด์มาละลายน้ําให้มีความเข้มข้นสูงประมาณ 300 กรัมต่อลิตร แล้วนําไปผ่านกระบวนการตกตะกอน กรอง และแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchanger) จนได้น้ําเกลือที่มีความบริสุทธิ์สูง (ultra pure brine) จากนั้นน้ําเกลือบริสุทธิ์ จะถูกส่งเข้าสู่เครื่องแยกน้ําเกลือ ด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (electrolyzer) แล้วเกิดการแตกตัว ดังแสดงในรูปที่ 1-2 และรวมตัวเป็นสารใหม่ ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคลอรีน และสารละลายโซดาไฟ สารละลายโซดาไฟ ความเข้มข้น 98 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก จากขั้นตอน final concentration ซึ่งมี อุณหภูมิสูง จะถูกลดอุณหภูมิลงด้วยน้ําหล่อเย็น เพื่อทําให้เป็นของแข็ง (เกล็ด) ที่อุปกรณ์ชื่อ flaker จนเกิด การตกผลึกเป็นโซดาไฟชนิดแข็ง (เกล็ด) ความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ําหนัก    2. การผลิตจากปูนขาว ด้วยการละลายโซดา (NaCO3) ในน้ำปูนขาว (Ca(OH)2) ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ทำให้ได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมคาร์บอเนต ดังสมการ NaCO3 + Ca(OH)2 = 2NaOH + CaCO3 โดยโซเดียมไฮดรอกไซด์จะระเหยตัวออก และไหลเข้าสู่ท่อเหล็กเย็นเพื่อกลั่น ซึ่งจะมีโซเดียมไฮดรอกไซด์ประมาณ 92%   3. การผลิตจากสารประกอบเฟอร์ไรท์ สารประกอบเฟอร์ไรท์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต คือ NaO.FeO3 จากการเตรียมด้วยสารประกอบเฟอร์ไรท์กับผงโซดาที่อุณหภูมิ 1100 ถึง 1200 องศาเซลเซียส และเข้าสู่กระบวนการชะด้วยน้ำจนได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และตะกอนสารประกอบเฟอร์ไรท์ ดังสมการ NaO.FeO3 + H2O = 2NaOH + FeO3


ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ

โซดาไฟสามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้อย่างเฉียบพลัน ถ้าสูดดมฝุ่นควันของสารจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลาย ตั้งแต่ระคายเคือง หรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมา ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วรีบนำส่งแพทย์ หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นทันที โดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ พยายามอย่าให้น้ำล้างตาไหลข้างที่มีสารเคมีไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไรโดยเด็ดขาด เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออก โดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที พร้อมกับถอดชุดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด หากกัดผิวหนัง หากโซดาไฟกัดผิวหนัง  โซดาไฟ มีฤทธิ์เป็นด่าง จึงกัดผิวหนังได้ ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก อันตรายเฉียบพลัน เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออกโดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที พร้อมกับถอดชุดอุปกรณ์ต่างๆที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์   หากโซดาไฟเข้าตา หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลายตั้งแต่ระคายเคืองหรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นโดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ อย่าให้น้ำล้างตาไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไร   หากกินโซดาไฟ หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป *** ห้ามทำให้อาเจียน   หากสูดดมโซดาไฟ จนเกิดอันตราย ถ้าหายใจเข้าไปโดยการสูดดมฝุ่นควันของสารจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมาให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วนำส่งแพทย์

โซดาไฟกับปฏิกิริยาต่อเนื่อง แม้ว่าโซดาไฟเป็นสารไม่ติดไฟ แต่ถ้าสัมผัสกับสารบางชนิด เช่น กรดเข้มข้น หรือทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกันจนเกิดความร้อนเพียงพอ และทำให้สารที่วางอยู่ใกล้สามารถติดไฟได้ การดับเพลิงจึงต้องดูสารที่เป็นคู่ปฏิกิริยาทางเคมี และรวมถึงการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/โซดาไฟ


การเก็บรักษาโซดาไฟ

เนื่องจากโซดาไฟเป็นสารเคมีที่อาจจะเกิดอันตรายได้ หากเก็บไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงควรเก็บโซดาไฟให้ถูกต้องตามวิธีการดังนี้

  • เก็บในโกดังที่ปิด แห้ง ห่างไกลจากแหล่งน้ำ อุณหภูมิของโกดังไม่ร้อนเกินไป อย่าให้ถูกความชื้น
  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อยู่ใกล้ๆแหล่งเก็บโซดาไฟ
  • ปกติโซดาไฟจะบรรจุในถุงพลาสติก และมีถุงกระสอบบรรจุอีกชั้น
  • อย่าเก็บไว้ใกล้กับสารคเมีประเภทกรดและสารติดไฟ
  • เวลาใช้โซดาไฟให้สวมหน้ากาก ชนิดเต็มหน้า สวมถุงมือ รองเท้ายาง เสื้อคลุม
  • หลังใช้งานโซดาไฟ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากการใช้งาน ล้างมือหรือส่วนที่สัมผัสกับโซดาไฟ หรืออาบน้ำชำระล้างร่างกาย

การเก็บโซดาไฟในบ้านเรือน หากท่านซื้อโซดาไฟมาใช้ ให้เก็บดังนี้ การเก็บและใช้ควรอยู่ในภาชนะที่กันน้ำปิดสนิทมิดชิดในที่เย็น หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง หากนำมาใช้ควรสวมถุงมือ   การเก็บรักษาโซดาไฟ และการใช้งาน


คุณสมบัติของโซดาไฟ

ชื่อตาม IUPAC Sodium hydroxide
ชื่อภาษาไทย โซดาไฟ
ชื่ออื่น Caustic soda Lye
เลขทะเบียน CAS [1310-73-2]
EC number 215-185-5
UN number 1823
RTECS number WB4900000
ChemSpider ID 14114
สูตรเคมี NaOH
มวลต่อหนึ่งโมล 39.997 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ White solid เกล็ดขาว
ความหนาแน่น 2.1 g/cm3
จุดหลอมเหลว 318 °C (591 K)
จุดเดือด 1390 °C (1663 K)
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 111 g/100 ml (20 °C)
MSDS External MSDS
การจำแนกของ EU Corrosive (C)
EU Index 011-002-00-6
NFPA 704
R-phrases R35
S-phrases (S1/2), S26, S37/39, S45
จุดวาบไฟ Non-flammable