วิธีใช้งานกรดเกลือให้ปลอดภัย


แชร์ให้เพื่อน :

Last Updated on February 21, 2024 by admin03

 

วิธีใช้งานกรดเกลือให้ปลอดภัย

กรดเกลือ หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “กรดไฮโดรคลอริก (HCl), Hydrochloric acid”

กรดเกลือเป็นสารเคมีที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น

  • อุตสาหกรรมทำน้ำยาทำความสะอาด
  • การทำพื้นทรายล้าง
  • ใช้ล้างสิ่งสกปรกที่ล้างออกยาก เช่น คราบปูน คราบตะไคร่น้ำ เป็นต้น
  • การบำบัดน้ำ

นอกจากนี้ กรดเกลือยังใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

กรดเกลือ สารเคมีตัวนี้ หลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อ หรือใช้งานมาแล้วบ้างอย่างแน่นอน กรดเกลือ แปลตามความหมายก็คือ สารเคมีที่เป็นกรด เป็นกรดแก่ มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นกัดโลหะ กัดพื้นปูน กระเบื้อง เป็นต้น

  • กรดเกลือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า  ” กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
  • เป็นกรดที่ใช้งานในหลายอุตสาหกรรม
  • กรดเกลือ มีความเข้มข้นเช่น กรดเกลือ 35% , และ กรดเกลือ 37% กรดเกลือถือว่าเป็นกรดแก่


คุณสมบัติกรดเกลือ

คุณสมบัติของกรดเกลือ

– เป็นของเหลวสีเหลือง หรือ แก๊ส ความเข้มข้น 35% และ 37%
– มีกลิ่นฉุน แสบจมูก
– กรดเกลือระเหยเป็นไอ ได้รวดเร็ว 


การใช้งานกรดเกลือ

  • ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนโลหะ เนื่องจากกรดเกลือมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง จึงนิยมมาทำความสะอาดคราบสนิมในโลหะ
  • ใช้ฟอกหนังสัตว์ กรดเกลือใช้ฟอกหนังสัตว์ทำให้หนังสัตว์ขาว สะอาด
  • ใช้ผลิตพวกน้ำยาทำความสะอาด
  • ใช้ล้างขัด พื้นทรายล้าง ช่างทำพื้นทรายล้างจะใช้กรดเกลือในการขัดและทำพื้นทรายล้าง
  • ใช้ล้างคราบสนิม ตะไคร่ กรดเกลือใช้ล้างคราบตะไคร่น้ำ
  • ใช้ปรับความเป็นกรด ด่าง ของน้ำ ใช่ร่วมกับคลอรีน หรือโซดาไฟ เพื่อใช้บำบัดน้ำเสีย จากโรงงาน


ข้อควรระวัง ในการใช้งานกรดเกลือ

  • กรดเกลือ ระเบิดได้ เมื่อสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด หรือโลหะเช่น อัลคาไล ,ทองแดง ,อลูมิเนียม เป็นต้น
  • กัดกร่อน รุนแรง กรดเกลือกัดกร่อนรุนแรงจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
  • พยายามอย่าให้กรดเกลือสัมผัสกับร่างกาย อย่าให้กระเด็นเข้าตา อย่าสูดดม หรือโดนผิวหนัง
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่นถุงมือ แว่นตา หน้ากากปิดจมูก

การปฐมพยาบาลหากได้รับอันตรายจากกรดเกลือ

พิษต่อดวงตา

  • ทำให้ดวงตาระคายเคือง เกิดแผลที่กระจกตา
  • หากสัมผัสเป็นเวลานานอาจจะทำให้เซลล์กะจกตาตาย เป็นต้อกระจก หรือต้อหินได้
  • หากสัมผัสกับดวงตาให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด โดยเปิดน้ำผ่านตา แล้วพาผู้ป่วยไปพบแพทย์

 

พิษต่อระบบหายใจ

  • ระคายเคืองคอ แสบจมูก และระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก อาจจะมีอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้
  • หากสูดดม กรดเกลือเป็นเวลานาน ให้รีบออกจากสถานที่นั้น ออกไปในที่โล่งและหายใจสะดวก ควรหาอุปกรณ์ป้องกัน ขณะใช้งานเช่น หน้ากากปิดจมูก มาใช้ขณะทำงาน

 

พิษต่อระบบทางเดินอาหาร

  • หากรับประทาน กรดเกลือเข้าไป อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะทะลุได้ เลือดออกในกระเพาะ จนถึงขั้นเสียชีวิต
  • ให้รีบนำผู้ป่วยไปหาแพทย์ทันที

 

พิษต่อผิวหนัง

  • เกิดแผลที่ผวหนัง ระคายเคืองผิวหนัง
  • หากสัมผัสรุนแรงมาก อาจจะทำให้เกิดแผลลึก คล้ายไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก
  • ทายาพวกแก้น้ำร้อนลวก หรือว่านหางจระเข้ เพื่อบรรเทาอาการ 
กรดเกลือ
กรดเกลือ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กรดเกลือ


แชร์ให้เพื่อน :