Last Updated on August 20, 2024 by admin02
โซดาไฟคืออะไร
” โซดาไฟ “ เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) มีสูตรทางเคมีคือ NaOH
- โซดาไฟ มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว
- โซดาไฟละลายน้ำได้ดี มีฤทธิ์กัดกร่อน
- โซดาไฟมีความเป็นด่างสูง
- โซดาไฟสามารถใช้งานได้ในหลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิตหลายๆ อย่าง เช่นสบู่, สารเคมีสำหรับทำความสะอาดต่างๆ เป็นต้น
Table of Contents
คุณสมบัติของ โซดาไฟ
- ลักษณะทางกายภาพของ โซดาไฟ : เป็นของแข็งสีขาว คล้ายสารส้ม สามารถละลายน้ำได้ดี
- โซดาไฟไม่มีกลิ่น เมื่อลองดมแล้วจะไม่มีกลิ่น
- เป็นด่างแก่ เป็นด่างแก่มาก ตรงข้ามกับความเป็นกรด
- ไม่ติดไฟ เมื่อจุดไฟแล้วจะไม่ติดไฟ
- ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ=1) 2.13 กรัม/ลบ.ซม.ที่ 30 องศาเซลเซียส
- ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน ความชื้น ถ้าอยู่ในความชื้นอาจจะละลายได้ เพราะโซดาไฟดูดความชื้นดีมาก
- ทำปฎิกิริยากับกรดแก่ น้ำและความชื้น ทำให้เกิดความร้อน อาจจะปะทุหากสัมผัสน้ำ ในขั้นตอนการละลายโซดาไฟ ควรละลายด้วยความระมัดระวัง
ตารางคุณสมบัติของโซดาไฟ
ชื่อตาม IUPAC | Sodium hydroxide |
ชื่อภาษาไทย | โซดาไฟ |
ชื่ออื่น | Caustic soda Lye |
เลขทะเบียน CAS | [1310-73-2] |
EC number | 215-185-5 |
UN number | 1823 |
RTECS number | WB4900000 |
ChemSpider ID | 14114 |
สูตรเคมี | NaOH |
มวลต่อหนึ่งโมล | 39.997 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | White solid เกล็ดขาว |
ความหนาแน่น | 2.1 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 318 °C (591 K) |
จุดเดือด | 1390 °C (1663 K) |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 111 g/100 ml (20 °C) |
MSDS | External MSDS |
การจำแนกของ EU | Corrosive (C) |
EU Index | 011-002-00-6 |
NFPA 704 | |
R-phrases | R35 |
S-phrases | (S1/2), S26, S37/39, S45 |
จุดวาบไฟ | Non-flammable |
โซดาไฟมีกี่ประเภท?
โซดาไฟมีแบบไหนบ้าง
- โซดาไฟเกล็ด
- โซดาไฟน้ำ
- โซดาไฟไข่มุก
โซดาไฟแบบกระสอบที่ผลิตมาจากโรงงาน
โซดาไฟที่ผลิตมาจากโรงงาน ส่วนใหญ่จะมาในรูปบบของกระสอบ บรรจุกระสอบละ 25 กิโลกรัมตามรูปด้านล่าง
ประเภทของโซดาไฟจากโรงงาน
โซดาไฟเกล็ด
เป็นแบบที่พบเจอโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นเกล็ด และใช้งานเยอะที่สุด สามารถหาซื้อได้ตามร้านชำ หรือร้านทั่วไป
ขนาดบรรจุโซดาไฟเกล็ด
- บรรจุ 1 กิโลกรัม / ถุง
- บรรจุ 25 กิโลกรัม/ ถุง
โซดาไฟน้ำ
เป็นโซดาไฟที่ละลายน้ำแล้ว มีความเข็มข้น 32% หรือ 50%
โซดาไฟน้ำ เป็นผลิตภัณฑ์ของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของเหลวที่ละลายอยู่ในตัวทำละลาย (น้ำ) เป็นโซดาไฟเกล็ดที่นำมาละลายน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่าง ไม่มีกลิ่น แต่สามารถเกิดไอระเหยได้ เมื่อสัมผัสจะลื่นเหมือนสบู่ พบจำหน่ายมากในปัจจุบัน ได้แก่ โซดาไฟ 32% และ50% เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม
โซดาไฟไข่มุก
โซดาไฟก้อน หรือเกล็ด เป็นสถานะปกติของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของแข็ง มีลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะให้ฤทธิ์เป็นด่างแก่ ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม และมีใช้บ้างในภาคครัวเรือน และการเกษตร
ขนาดบรรจุโซดาไฟไข่มุก
- บรรจุ 1 กิโลกรัม / ถุง
- บรรจุ 25 กิโลกรัม/ ถุง
การใช้งาน โซดาไฟ
โซดาไฟ สามารถใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจริงๆแล้ว หลายๆโรงงานก็ใช้ โซดาไฟ ในหลายขั้นตอน เช่น
- อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ (Pulp and paper) ใช้ในการกำจัดสีหมึกออกจากกระดาษเก่า และใช้ในกระบวนการต้มเยื่อกระดาษ
- อุตสาหกรรมผลิตเส้นใย (Textiles) ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (เช่น ไนลอน และโพลีเอสเตอร์)
- อุตสาหกรรมผลิตสบู่และสารซักล้าง (Soap and detergents) ใช้ทำปฏิกิริยาเพื่อเปลี่ยนน้ำมันพืชหรือไขมันจากสัตว์เป็นสบู่
- อุตสาหกรรมการผลิตอลูมิเนียม (Aluminum production) ใช้เป็นตัวทำละลาย ละลายแร่บ๊อกไซท์(Bauxite) ซึ่งเป็นสินแร่ในการผลิตโลหะอลูมิเนียม
- การขุดสำรวจหาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ และการปรับปรุงสมบัติของปิโตรเลียมและก๊าซในกระบวนการผลิต ใช้ในการกำจัดกลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟด์ และสารประกอบซัลไฟด์อื่น ๆ
- ใช้ผลิตสบู่
- ใช้ล้างคราบกาวและฉลากในขั้นตอนการรีไซเคิลขวดแก้ว
- ใช้บำบัดน้ำเสีย โดยใช้ปรับน้ำที่เป็นกรด ให้เป็นกลางมากขึ้น ก่อนจะนำไปใช้หรือนำไปบำบัดต่อไป
- ใช้ล้างคราบสกปรกต่าง และฆ่าเชื้อโรค เช่น ใช้ล้างตลาดสดในช่วงโควิดที่ผ่านมา เพื่อสุขอนามัย
- ใช้ล้างทำความสะอาดคอกเลี้ยงสัตว์ เช่น ใช้ล้างคอมวัว หรือหมู ก่อนลงเลี้ยงลูกหมู
ข้อมูลเกี่ยวกับกับการใช้งานโซดาไฟอื่นๆ
- โซดาไฟในอุตสาหกรรมไทย
- โซดาไฟถูกนำมาใช้กับอาหาร (Life know)
- โซดาไฟใช้ล้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์
- วิธีใช้โซดาไฟกับท่อตันอย่างถูกวิธี
การใช้โซดาไฟแก้ท่อตัน หรือ ชักโครกตัน
การเลือกซื้อ โซดาไฟ
การเลือกซื้อ โซดาไฟ ต้องพิจารณาสิ่งต่างๆดังนี้
- ความเข้มข้น ความเข้มข้นของโซดาไฟเกล็ดมีความเข้มข้นต่างๆ เช่นโซดาไฟเกล็ดเข้มข้น98% ,99% หรือโซดาไฟน้ำเข้มข้น32% หรือ 50% , เป็นต้น และเลือกว่าเราใช้โซดาไฟในอุตสาหกรรมไหน และใช้ความเข้มข้นที่เท่าไหร่
- โซดาไฟที่ต้องการใช้เป็นโซดาไฟน้ำ หรือ โซดาไฟเกล็ดเพราะการใช้งานจะต่างกัน
- ประเทศและโรงงานที่ผลิตโซดาไฟ เพราะโซดาไฟที่ขาย นั้นนำเข้ามาจากหลายประเทศ เช่น จีน,ไทย,อินเดีย,ไต้หวัน เป็นต้น ทั้งนี้เราต้องรู้ว่าเป็นโซดาไฟจากที่ไหน
- คุณภาพของโซดาไฟ ในการตัดสินใจเลือกซื้อโซดาไฟ อาจจะต้องขอเอกสารรับรองคุณภาพ เพิ่มเติมจากผู้ขาย
*** หากท่านต้องการนำโซดาไฟ มาใช้งานสามารถใช้วิธีการดังนี้ เพื่อทดสอบคุณภาพของโซดาไฟ
คลิป VDO วิธีการเลือกซื้อโซดาไฟ
การตรวจสอบโซดาไฟเบื้องต้น
- การสังเกตุด้วยตา การสังเกตุลักษณะทางกายภาพ โซดาไฟเกล็ด เมื่อมองด้วยตาเปล่า จะต้องเป็นเกล็ดแข็ง ไม่จับตัวเป็นก้อน มีสีขาว ไม่มีสิ่งปลอมปน ไ่ม่มีนำหรือหยดน้ำ
- เมื่อนำไปละลายในน้ำโซดาไฟจะเกิดความร้อน ต้องมีควันขึ้นมา จะได้น้ำละลายที่ใส ไม่ขุ่น
- ควรมีใบรับรองจากผู้ผลิต เช่น เอกสารการทดสอบหรือใบ COA (Certificate of Analysis) ซึ่งผู้ผลิตทุกเจ้าจะมีการทดสอบ และออกใบรับรอง COA อยู่แล้ว
การทดสอบโซดาไฟ
ในการเลือกใช้งานโซดาไฟ เราต้องการโซดาไฟที่ได้ประสิทธิภาพและใช้งานได้ดีในอุตสาหกรรมของเรา นอกจากการขอใบรับรองคุณภาพของโซดาไฟ จากผู้ขายแล้ว วิธีการง่ายๆ ในการทดสอบคุณภาพของโซดาไฟด้วยตัวเอง เราก็สามารถทำได้ดังนี้
เตรียมสิ่งของดังนี้
- โซดาไฟที่ต้องการทดสอบ
- น้ำเปล่า
- ขวดแก้ว หรือแก้วน้ำ
การทดสอบคือให้ลองนำโซดาไฟไปละลายน้ำโดยละลายในภาชนะที่เป็นแก้ว เช่นขวดแก้วคนให้โซดาไฟละลาย โซดาไฟจะเกิดความร้อน อาจจะมีควันขึ้น และต้องใส ไม่มีสีแดงหากขุ่น หรือหากมีสีแดงถือว่าผิดปกติ วิธีการทดสอบโซดาไฟแบบง่ายๆนี้ สามารถนำไปทดสอบโซดาไฟที่สั่งมาใช้ได้
การผลิตโซดาไฟ
การผลิตโซดาไฟ โซดาไฟผลิตอย่างไร โซดาไฟผลิตจากอะไร
– การผลิตโซดาไฟจากเกลือ
– การผลิตโซดาไฟจากปูนขาว
– การผลิตโซดาไฟจากสารประกอบเฟอร์ไรท์
- การผลิตจากเกลือ เช่น เกลือสมุทร ,เกลือสินเธาว์ ,เกลือแกงและเกลือหิน ด้วยหลักการอิเล็กโทรไลซิสของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ เมมเบรนเซลล์ (Membrane cell) และไดอะแฟรม เซลล์ (Diaphragm cell) โดยการนำเกลือมาแยกด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสตรงทำให้เกิดก๊าซคลอรีน และโซเดียมไอออน จากนั้นโซเดียมไอออนจะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์จนเกิดโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซคลอรีน ดังสมการ 2NaCl + H2O+2e- = H2 + 2NaOH + Cl2
กระบวนการผลิตโซดาไฟจากเกลือ เริ่มต้นจากน้ําเกลือโซเดียมคลอไรด์มาละลายน้ําให้มีความเข้มข้นสูงประมาณ 300 กรัมต่อลิตร แล้วนําไปผ่านกระบวนการตกตะกอน กรอง และแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchanger) จนได้น้ําเกลือที่มีความบริสุทธิ์สูง (ultra pure brine) จากนั้นน้ําเกลือบริสุทธิ์ จะถูกส่งเข้าสู่เครื่องแยกน้ําเกลือ ด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (electrolyzer) แล้วเกิดการแตกตัว ดังแสดงในรูปที่ 1-2 และรวมตัวเป็นสารใหม่ ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคลอรีน และสารละลายโซดาไฟ
สารละลายโซดาไฟ ความเข้มข้น 98 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก จากขั้นตอน final concentration ซึ่งมี อุณหภูมิสูง จะถูกลดอุณหภูมิลงด้วยน้ําหล่อเย็น เพื่อทําให้เป็นของแข็ง (เกล็ด) ที่อุปกรณ์ชื่อ flaker จนเกิด การตกผลึกเป็นโซดาไฟชนิดแข็ง (เกล็ด) ความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ําหนัก - การผลิตจากปูนขาว ด้วยการละลายโซดา (NaCO3) ในน้ำปูนขาว (Ca(OH)2) ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ทำให้ได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมคาร์บอเนต ดังสมการ NaCO3 + Ca(OH)2 = 2NaOH + CaCO3 โดยโซเดียมไฮดรอกไซด์จะระเหยตัวออก และไหลเข้าสู่ท่อเหล็กเย็นเพื่อกลั่น ซึ่งจะมีโซเดียมไฮดรอกไซด์ประมาณ 92%
- การผลิตจากสารประกอบเฟอร์ไรท์ สารประกอบเฟอร์ไรท์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต คือ NaO.FeO3 จากการเตรียมด้วยสารประกอบเฟอร์ไรท์กับผงโซดาที่อุณหภูมิ 1100 ถึง 1200 องศาเซลเซียส และเข้าสู่กระบวนการชะด้วยน้ำจนได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และตะกอนสารประกอบเฟอร์ไรท์ ดังสมการ NaO.FeO3 + H2O = 2NaOH + FeO3
ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ
- ถ้าสูดดมฝุ่นควันของสารจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้
- หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลาย ตั้งแต่ระคายเคือง หรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้
- หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก
- หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
– กรณีโซดาไฟกัดผิวหนัง
- หากกัดผิวหนัง หากโซดาไฟกัดผิวหนัง โซดาไฟ มีฤทธิ์เป็นด่าง จึงกัดผิวหนังได้ ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก อันตรายเฉียบพลัน เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออกโดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที พร้อมกับถอดชุดอุปกรณ์ต่างๆที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์
– กรณีโซดาไฟเข้าตา
- หากโซดาไฟเข้าตา หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลายตั้งแต่ระคายเคืองหรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นโดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ อย่าให้น้ำล้างตาไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไร
– กรณีกินโซดาไฟ
- หากกินโซดาไฟ หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป
*** ห้ามทำให้อาเจียน
– กรณีหายใจสูดควันจากโซดาไฟ
- ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมา ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วรีบนำส่งแพทย์
การเก็บรักษาโซดาไฟ
- เก็บในโกดังที่ปิด แห้ง ห่างไกลจากแหล่งน้ำ อุณหภูมิของโกดังไม่ร้อนเกินไป อย่าให้ถูกความชื้น
- จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อยู่ใกล้ๆแหล่งเก็บโซดาไฟ
- ปกติโซดาไฟจะบรรจุในถุงพลาสติก และมีถุงกระสอบบรรจุอีกชั้น
- อย่าเก็บไว้ใกล้กับสารคเมีประเภทกรดและสารติดไฟ
- เวลาใช้โซดาไฟให้สวมหน้ากาก ชนิดเต็มหน้า สวมถุงมือ รองเท้ายาง เสื้อคลุม
- หลังใช้งานโซดาไฟ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากการใช้งาน ล้างมือหรือส่วนที่สัมผัสกับโซดาไฟ หรืออาบน้ำชำระล้างร่างกาย
การเก็บโซดาไฟในบ้านเรือน
- เก็บในภาชนะที่กันน้ำปิดสนิทมิดชิดในที่เย็น และอากาศถ่ายเท
- เก็บในถุงที่ปิดสนิท ไม่ให้อากาศเข้า
- เก็บให้ห่างจากความชื้น
- เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
โซดาไฟที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
โซดาไฟแบบต่างๆ
ประเทศที่ผลิต | ชนิด | ความเข้มข้น | ||
---|---|---|---|---|
โซดาไฟจีน | จีน | เกล็ด | 99% | |
โซดาไฟอาซาฮี | ไทย | เกล็ด | 98% | |
โซดาไฟอาซาฮี | ไทย | ไข่มุก | 99% | |
โซดาไฟไต้หวัน | ไต้หวัน | เกล็ด | 98% | |
โซดาไฟไต้หวัน | ไต้หวัน | ไข่มุก | 99% | |
โซดาไฟอินเดีย | อินเดีย | เกล็ด | 99% |
โซดาไฟจีน
- เป็นโซดาไฟแบบเกล็ด ที่ผลิตในประเทศจีน มีความเข้มข้น 99% ใช้งานง่าย ราคาถูก
- บรรจุในถุงละ 25 กิโลกรัม
โซดาไฟอาซาฮี (ไทย)
- (ผลิตในประเทศไทย) เป็นโซดาไฟที่คุณภาพดี ใช้งานได้ดีในโรงงานอุตสาหกรรม
- โซดาไฟอาซาฮี มีทั้งแบบ เกล็ด และไข่มุก
- บรรจุในถุงละ 25 กิโลกรัม
โซดาไฟไต้หวัน
- ผลิตในประเทศไต้หวัน
- มีทั้งแบบเกล็ดและไข่มุก
- บรรจุในถุงละ 25 กิโลกรัม
โซดาไฟอินเดีย
- ผลิตในประเทศอินเดีย
- มีแบบเกล็ด
- บรรจุในถุงละ 25 กิโลกรัม