โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)


แชร์ให้เพื่อน :

Last Updated on January 25, 2024 by admin03

โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) (โซดาแอช) เกรดอาหาร

 

โซเดียมไบคาร์บอเนต (อังกฤษ: sodium bicarbonate

ชื่อเรียกทั่วไป โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต หรือ โซดาทำขนม (baking soda) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ NaHCO3 มีเลขอีคือ E500 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสเค็มคล้ายโซเดียมคาร์บอเนต มีการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ในรูปของเนตรอน (natron) นำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

 

  • ชื่อตาม IUPAC    : โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
  • ชื่ออื่น.                    : โซเดียมไบคาร์บอเนต
                                    ไบคาร์บอเนตของโซดา
                                    โซดาทำขนม
                                    โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
                                     นาห์โคไลต์
  • คุณสมบัติ
  • สูตรเคมี                  : NaHCO3
  • มวลต่อหนึ่งโมล     : 84.007 g/mol
  • ลักษณะทางกายภาพ : ของแข็งผลึกสีขาว
  • ความหนาแน่น        :  2.159 g/cm3, solid.
  • จุดหลอมเหลว         : Decomposes around 50 °C
  • ความสามารถละลายได้ในน้ำ : 7.8 g/100 ml (18 °C)

 


 

ลักษณะทางชีวภาพของโซเดียมไบคาร์บอเนต

  • มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวที่ละลายน้ำได้ดี มีความเป็นด่าง เมื่อทำปฏิกิริยากับส่วนผสมที่เป็นกรดในส่วนผสมของเหลวก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนทำให้เกิดฟองก๊าซ

 

การใช้งานโซเดียมไบคาร์บอเนต

  • อุตสาหกรรมอาหาร ทำขนมหวาน ขนมปัง ให้ฟูและขยายสวยงาม น่ารับประทาน
  • อุตสหกรรมน้ำยาทำความสะอาดใช้เป็นส่วนผสมในสารทำความสะอาด ใช้ปรับความเป็นกรดด่างของบ่อน้ำ
  • อุตสาหกรรมดับเพลิง ในการดับเพลงใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต ในอุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้ง
  •  อุตสาหกรรมยา โซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ในการผลิตยาเม็ดที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ โซดามิ้นท์, โซดามินท์, โซดามินต์ (Sodamint) โดยมีไว้ใช้สำหรับรักษาภาวะความเป็นกรดเกินของร่างกายและภาวะอาหารไม่ย่อย เป็นต้น

 

ข้อแตกต่าง : โซเดียมคาร์บอเนตและโซเดียมไบคาร์บอเนตจะมีความเป็นด่างสูง แต่โซเดียมไบคาร์บอเนตจะมีความเป็นกรดมากกว่าโซเดียมคาร์บอเนต

 

ผงฟูกับเบกกิ้งโซดาต่างกันยังไง

เบกกิ้งโซดา คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate)

ผงฟู คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) + สารที่มีฤทธิ์เป็นกรด (เช่น Cream of tartar, Disodium pyrophosphate) + แป้งข้าวโพด (Corn starch)
สรุป ทั้งเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) และผงฟู (Baking Powder) ต่างก็เป็นสารที่ช่วยทำให้ขนมขึ้นฟูได้ แต่โดยมากแล้วจะนำมาใช้ในโอกาศที่แตกต่างกัน โดยผงฟูนั้นสามารถนำมาใช้แทนเบกกิ้งโซดาได้ในบางกรณี* แต่เบกกิ้งโซดาเพียงเดี่ยว ๆ จะไม่สามารถนำมาใช้แทนผงฟูได้เลย เพราะต้องเพิ่มสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดและแป้งข้าวโพดเข้าไปด้วย

หมายเหตุ : ผงฟูจะมีปริมาณที่จะเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่าเบกกิ้งโซดา 4 เท่า พูดง่าย ๆ ก็คือ เบกกิ้งโซดาเพียว ๆ จะมีความเข้มข้นมากกว่าผงฟูประมาณ 4 เท่าครับ ถ้าจะใช้ผงฟูแทนเบกกิ้งโซดาก็กะใช้ในขนาดที่เหมาะสมด้วยครับ

แชร์ให้เพื่อน :