โซดาไฟใช้ล้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟใช้ล้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์

สวัสดีครับ วันนี้เรานำความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโซดาไฟเพื่อฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดคอกหมู, เล้าไก่ ,ฟาร์มวัว เนื่องด้วยช่วงนี้มีการระบาดของโรคโควิด 19 และทุกฟาร์มก็คำนึงถึงความสะอาดของฟาร์มเป็นอันดับแรก

การใช้โซดาไฟเพื่อประโยชน์ในการปศุสัตว์ โซดาไฟสามารถใช้งานเพื่อฆ่าเชื้อในฟาร์มได้เป็นอย่างดี โดยโซดาไฟเกล็ด 99%นการล้างคอกเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และทำความสะอาดคอกได้

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • โซดาไฟ ความเข้มข้น 90% ขึ้นไป โดยใช้ในอัตราส่วน 1:100 ( โซดาไฟ 1 ส่วน : น้ำ 100 ส่วน )
  • โซดาไฟน้ำ สามารถหาซื้อได้ มีความเข้มข้น 32% และ 50%

 

ข้อดีของการใช้โซดาไฟทำความสะอาดฟาร์ม

  • ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในฟาร์มได้เป็นอย่างดี
  • ประหยัดเพราะไม่ต้องซื้อน้ำยาทำความสะอาดในราคาที่แพง โซดาไฟมีราคาถูกมาก
  • สามารถใช้ทำความสะอาดเพื่อเตรียมฟาร์มสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้
  • สามารถใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

ขั้นตอนการล้างคอกสัตว์โดยใช้น้ำผสมโซดาไฟ (เพื่อฆ่าเชื้อ)

1.จัดเตรียมโซดาเกล็ดความเข้มข้น 99%
2.ผสมโซดาไฟกับน้ำ อัตราส่วน 1-2 กิโลกรัม/น้ำ 100 ลิตร
3.ทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำเปล่า ก่อนทำความสะอาดด้วยน้ำผสมโซดาไฟ *ควรทำความสะอาดช่วงไม่มีสัตว์เลี้ยงหรือก่อนลงสัตว์เลี้ยง
4.ล้างด้วยน้ำโซดาไฟ ให้ทั่วทั้งฟาร์ม
5.ล้างทำความสะอาดฟาร์มอีกรอบด้วยน้ำสะอาด และรอให้แห้ง

* ใช้ฉีดล้าง ทำความสะอาดฟาร์มเพื่อความสะอาดของฟาร์ม
* ข้อมูลโดยละเอียดให้สอบถามสัตวแพทย์ที่ให้การดูแลฟาร์ม



การใช้โซดาไฟกับฟาร์มหมู
ใช้โซดาไฟทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงหมู ก่อนทำการเลี้ยงหมูรุ่นต่อไป การใช้โซดาไฟ สามารถใช้ได้กับโรงเรือนเลี้ยงหมูได้ทุกครั้งที่ต้องการล้างโรงเรือน หรือเล้าหมู 

 

 


การใช้โซดาไฟกับฟาร์มวัว

การใช้โซดาไฟล้างคอกวัว
เราสามารถใช้โซดาไฟล้างคอกวัวได้ โดยใช้โซดาไฟความเข้มข้น 90% ขึ้นไป โดยใช้ในอัตราส่วน 1:100 ( โซดาไฟ 1 ส่วน : น้ำ 100 ส่วน ) นำมาทำความสะอาดคอก เพื่อความสะอาดและเป็นการฆ่าเชื้อโรค

 

การใช้โซดาไฟล้างอุปกรณ์รีดนมวัว
การแช่อุปกรณ์ในสารละลายโซดาไฟ
เป็นการล้างทําความสะอาดพวกคราบน้ํานมที่เป็นไขมัน โปรตีนที่สะสมอยู่ตามรอยแตกของยางยาง รีดนมและรอยข้อต่อต่างๆ

อุปกรณ์ที่จําเป็น
1. ถังน้ําหรือตุ่มที่มีฝาปิด และบรรจุน้ําได้ไม่ต่ำกว่า 20 ลิตร
2. โซดาไฟชนิดเกล็ด

ขั้นตอนการล้าง
เตรียมสารละลายโซดาไฟ (โซดาไฟเกล็ด 99%)โดยใช้เกล็ดโซดาไฟ 1 ก.ก. ละลายในน้ํา 40 ลิตร (1 ถังส่งนม) ในถังน้ําหรือตุ่มที่มีฝาปิด และอยู่ในร่มไม่มีแดดส่องถึงและการระบายอากาศดี ล้างทําความสะอาดตามขั้นตอนการล้างทําความสะอาดคราบไขมันและโปรตีน นําอุปกรณ์ส่วนที่เป็นยางและโลหะ ลงแช่ในสารละลายโซดาไฟที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
อุปกรณ์ที่ทั้งหมดจะแช่อยู่ในน้ําโซดาไฟจนกระทั่งมือรีดนมต่อไป

• ก่อนเวลารีดนมมื้อต่อไป ประมาณ 1 ชั่วโมง นําอุปกรณ์รีดนมทั้งหมดที่แช่ไว้ในสารละลาย
โซดาไฟ มาล้างด้วยน้ําที่สะอาดแล้วพึ่งให้แห้งในร่ม

หมายเหตุ

• การเตรียมสารละลายโซดาไฟแต่ละครั้ง สามารถใช้งานได้นาน ประมาณ 1 เดือน ถ้าใน สารละลายมีตะกอนหรือสิ่งสกปรก เช่น น้ํานม เจือปนจะทําให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อและการทําความ สะอาดด้อยลง ดังนั้น ควรจะเปลี่ยนน้ําโซดาไฟ ทุก 15 วัน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทําความสะอาดของ สารละลายโซดาไฟดีขึ้น ถ้าหากมีหัวรีดนมเพียงชุดเดียว ควรจะใช้เกล็ดโซดาไฟ 0.5 ก.ก. ผสมน้ํา 20 ลิตร (1 ถังรีดนม)
• ห้ามนําตัวควบคุมจังหวะการรีดนม หรือหัวใจการรีดนม และอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติก เช่น ถ้วยรวมนม ลงแช่ในสารละลายโซดาไฟ เพราะจะทําให้อายุการใช้งานของพลาสติกลดลง แต่ให้ใช้ผ้าที่สะอาด เช็ดทําความสะอาดก็พอ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการแช่อุปกรณ์รีดนมในน้ําโซดาไฟ
• ถังหรือภาชนะที่บรรจุสารละลายโซดาไฟ ควรจะเลือกชนิดที่ไม่ถูกกัด หรือไม่ทําปฏิกิริยากับ โซดาไฟ
• ก่อนล้างทําความสะอาดควรแยกชิ้นส่วนออกจากกันก่อนโดยเฉพาะตัวควบคุมจังหวะรีดควร แยกออกเช็ดทําความสะอาด แล้วแยกไว้ต่างหาก
• ล้างอุปกรณ์รีดนมด้วยน้ําเปล่าให้สะอาด ก่อนนําลงแช่ในสารละลายโซดาไฟ จะช่วยให้การ ฆ่าเชื้อโรคของโซดาไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ถ้าหากเป็นอุปกรณ์การรีดนมที่เคยผ่านการใช้งานมานานและยังไม่เคยแช่ในสารละลาย โซดาไฟมาก่อน ดังนั้น ก่อนจะนําอุปกรณ์เหล่านี้แช่ในสารละลายโซดาไฟ ต้องล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ ทั้งหมดให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทําได้
• ถ้าการแช่สารละลายโซดาไฟในครั้งแรก จะสังเกตเห็นเศษสิ่งสกปรก หรือคราบน้ํานมถูกกัด และลอยขึ้นมา ถ้าสารละลายโซดาไฟอุ่นให้เปลี่ยน ประมาณ 2-3 วัน หลังจากที่เริ่มแช่ครั้งแรก หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนทุก 15 วัน
• ควรจะใส่ถุงมือ หรือใช้เชือกผูกกับอุปกรณ์รีดนม เพื่อสะดวกในการนําอุปกรณ์ที่แช่ในน้ํา โซดาไฟขึ้นมาล้างด้วยน้ําสะอาด การใช้มือจุ่มลงในสารละลายโซดาไฟโดยตรง จะทําให้ผิวหนังถูกน้ําโซดาไฟกัด

 

 

 


การใช้โซดาไฟกับฟาร์มไก่
โซดาไฟ สามารถใช้ผสมกับน้ำ เพื่อนำมาทำความสะอาดฟาร์มไก่ เพื่อล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคได้ หากมีโรคระบาดสามารถใช้โซดาไฟล้างทำความสะอาดเพื่อป้องกันโรคระบาดได้
* ใช้โซดาไฟผสมน้ำเพื่อล้างทำความสะอาดฟาร์มก่อนและหลังเลี้ยงไก่ แต่ละรุ่น
* ใช้โซดาไฟล้างเพื่อป้องกันในช่วงที่เกิดโรคระบาด

แชร์ให้เพื่อน :

การผลิตโซดาไฟ

แชร์ให้เพื่อน :

การผลิตโซดาไฟ

สวัสดีครับวันนี้ เรามาดูกันว่าการผลิตโซดาไฟนั้นผลิตอย่างไร และผลิตจากอะไร ลองมาดูข้อมูลกันครับ 

กระบวนการผลิต และอุตสาหกรรมที่มีการใช้โซดาไฟ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) หรือ โซดาไฟ (caustic Soda) สูตรทางเคมี คือ NaOH มีสมบัติเป็นเบสแก่ และมีฤทธิ์กัดกร่อน ถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมสบู่และสารซักล้าง เป็นต้น

สูตรทางเคมีของโซดาไฟ คือ NaOH

ประเทศไทยมีโรงงานผลิตโซดาไฟ ที่ผลิตได้ทั้งชนิดสารละลาย และชนิดแข็ง (ก้อน เม็ด เกล็ด ผง) ซึ่งปริมาณที่ผลิตได้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานภายในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อีกด้วย

1.1 กระบวนการผลิตโซดาไฟ
โซดาไฟ เป็นผลิตภัณฑ์ของโรงงานคลอร์-อัลคาไล (คลอรีน-โซเดียมไฮดรอกไซด์) ดังแสดงในรูปที่ 1-1 โดยใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์(เกลือ) เป็นวัตถุดิบตั้งต้น ซึ่งโรงงานคลอร์-อัลคาไลในประเทศไทย จะใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ จากเกลือสินเธาว์ เกลือสมุทร และเกลือหินเป็นหลัก

 

กระบวนการผลิตโซดาไฟ เริ่มต้นจากน้ําเกลือโซเดียมคลอไรด์มาละลายน้ําให้มีความเข้มข้นสูงประมาณ 300 กรัมต่อลิตร แล้วนําไปผ่านกระบวนการตกตะกอน กรอง และแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchanger) จนได้น้ําเกลือที่มีความบริสุทธิ์สูง (ultra pure brine) จากนั้นน้ําเกลือบริสุทธิ์ จะถูกส่งเข้าสู่เครื่องแยกน้ําเกลือ ด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (electrolyzer) แล้วเกิดการแตกตัว ดังแสดงในรูปที่ 1-2 และรวมตัวเป็นสารใหม่ ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคลอรีน และสารละลายโซดาไฟ

สารละลายโซดาไฟที่ผลิตได้ในขั้นตอนนี้ จะมีความเข้มข้น 32 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก และมีอุณหภูมิสูง จึงต้องทําให้เย็นลงโดยนําไปผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน แล้วจึงส่งไปเก็บในถังเก็บผลิตภัณฑ์ต่อไป
โรงงานคลอร์-อัลคาไล จะนําผลิตภัณฑ์ขั้นกลาง ทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคลอรีน และโซดาไฟ ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย รวม 4 ชนิด คือ
1. โซดาไฟชนิดสารละลาย (ความเข้มข้น 32 เปอร์เซ็นต์ และ 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก อ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง โซเดียมไฮดรอกไซด์ประเภทอุตสาหกรรม) และชนิดแข็ง (ความบริสุทธิ์ ไม่น้อยกว่า 98 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก อ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง โซเดียมไฮดรอกไซด์ ประเภทอุตสาหกรรม)
2. กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) ความเข้มข้น 35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก (อ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เรื่อง กรดไฮโดรคลอริกสําหรับอุตสาหกรรม)
3. โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก (อ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เรื่อง ไฮโปคลอไรต์)
4. คลอรีนเหลว ความบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (อ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง คลอรีนเหลว)

 

1.1.1 กระบวนการผลิตโซดาไฟ ชนิดสารละลายความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก

สารละลายโซดาไฟที่เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นกลาง จะถูกนําไปเพิ่มความเข้มข้น โดยการให้ความร้อนด้วยไอน้ํา ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า หอระเหยเพิ่มความเข้มข้นโซดาไฟ (caustic evaporator) ภายใต้สภาวะความดันต่ํา เพื่อระเหยน้ําออกให้สารละลายโซดาไฟมีความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก ดังแสดงในรูปที่ 1-3

1.1.2 กระบวนการผลิตโซดาไฟชนิดแข็ง

การผลิตโซดาไฟชนิดแข็ง (ก้อน, เม็ด, เกล็ด, ผง) เป็นการนําสารละลายโซดาไฟที่มีความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก มาทําการระเหยน้ําและทําให้เป็นเกล็ด แสดงดังรูปที่ 1-4 โดยการป้อนเข้าสู่เครื่องระเหย น้ํา ซึ่งเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (ชนิด failing film) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ pre concentration และ final concentration ดังนี้

  • pre concentration สารละลายโซดาไฟ ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก จะได้รับความร้อน จากไอน้ํา เพื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 62 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก และถูกส่งไปยังหน่วย final concentration
  • final concentration สารละลายโซดาไฟ ความเข้มข้น 62 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก จะได้รับความร้อน จากเกลือหลอมเหลวอุณหภูมิสูง (molten salt) อุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียส เพื่อเพิ่มความเข้มข้น เป็น 98 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก

 

สารละลายโซดาไฟ (โซดาไฟน้ำ) ความเข้มข้น 98 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก จากขั้นตอน final concentration ซึ่งมี อุณหภูมิสูง จะถูกลดอุณหภูมิลงด้วยน้ําหล่อเย็น เพื่อทําให้เป็นของแข็ง (เกล็ด) ที่อุปกรณ์ชื่อ flaker จนเกิด การตกผลึกเป็นโซดาไฟชนิดแข็ง (เกล็ด) ความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ําหนัก ตัวอย่างเครื่อง ผลิตโซดาไฟชนิดแข็ง แสดงดังรูปที่ 1-5

ทั้งหมดนี้ เป็นกระบวนการผลิตโซดาไฟทั้ง โซดาไฟน้ำ และโซดาไฟเกล็ด ครับ 


การกำจัดของเสียจากการผลิตโซดาไฟ

อุตสาหกรรมผลิตโซดาไฟในประเทศไทยยัง เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากปริมาณความ ต้องการใช้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดังนั้นการผลิตโซดาไฟ จึงใช้กรรมวิธีแยกสารละลายเกลือแกงด้วยไฟฟ้าในเซลล์ปรอท ทําให้เกิดปัญหาเรื่องสารปรอทตกค้าง หรือมีการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมในสภาพน้ําทิ้งและกากตะกอน ในสภาพน้ําทิ้ง ทางโรงงานมักมีระบบกําจัด น้ําทิ้ง โดยใช้สายละลายโซเดียมซัลไฟต์ตกตะกอน ปรอทเป็นปรอทซัลไฟด์แล้วกรองด้วยทรายแล้วผ่าน เรซิน จากนั้นจึงปล่อยน้ําทิ้งออกนอกโรงงาน

สําหรับ กากตะกอน บางโรงงานทําการกําจัดโดยการใส่สาร โซเดียมซัลไฟด์ แล้วผสมซีเมนต์หล่อเป็นก้อน จาก นั้นจึงหล่อซีเมนต์หุ้มอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนําไปทิ้งหรือ เก็บไว้ตามสถานที่ที่กําหนดไว้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วย ลดมลพิษจากสารปรอทได้ แต่ถ้าโรงงานยังไม่มีการ กําจัดปรอทในกากตะกอนก่อน เพียงแต่นําเอากาก ตะกอนจากขบวนการผลิตไปทิ้งในบริเวณโรงงานและ ใช้ดินกลบผิวหน้า ในกรณีนี้ปรอทที่อยู่ในกาก ตะกอนจะแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

การผลิตโซดาไฟอาจจะทำให้เกิดสารปรอทตกค้าง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

https://www.diw.go.th/hawk/intranet/index.php

 

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟอินเดีย 99%

แชร์ให้เพื่อน :

จำหน่ายโซดาไฟอินเดีย 99%

ชื่อสารเคมี Sodium Hydroxide 99%-Flakes
ชื่อภาษาไทย โซดาไฟอินเดีย
สูตรเคมี NaOH
ความเข้มข้น 99%
ลักษณะ เป็นเกล็ดขุ่น แข็ง ไม่ติดไฟ
ขนาดบรรจุ 25 กก / ถุง
ใช้ในอุตสาหกรรม * อุตสาหกรรมโรงชุบและโลหะ ที่ต้องใช้โซดาไฟ * อุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาด * อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากยาง * อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ * อุตสาหกรรมถุงมือยาง * ระบบบำบัดน้ำเสีย นำไปปรับความเป็นกรด เบส ของน้ำ ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ * ระบบผลิตน้ำประปา * อุตสาหกรรมกระดาษ
ผลิตภัณฑ์ของประเทศ อินเดีย

โซดาไฟเกล็ดอินเดีย 99%

ความเข้มข้น : 98% – 99%
บริษัทที่ผลิต : บริษัท GRASIM INDUSTRIES LIMITED
ประเทศที่ผลิต : อินเดีย

Aditya Birla Grasim Caustic Soda Flake
โซดาไฟคุณภาพ เกรด 98% โซดาไฟคุณภาพจากประเทศอินเดีย ผลิตโดยบริษัท GRASIM INDUSTRIES LIMITED ประเทศอินเดีย ซี่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านเคมีภัณฑ์ของประเทศอินเดีย การใช้งานสามารถใช้งานได้เหมือนกับโซดาไฟทั่วไป

โซดาไฟจากอินเดียเป็นโซดาไฟที่มีราคาถูกกว่าโซดาไฟจากประเทศอื่นๆ


โซดาไฟจากอินเดีย ได้รับมาตรฐาน NSF คือ สามารถใช้ในอุตสาหกรรมน้ำดื่มและอาหารได้ 


โซดาไฟอินเดีย

อินเดียถือว่าเป็นประเทศที่ผลิดโซดาไฟเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และสิ่งทอจำนวนมาก และส่งออกโซดาไฟไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จุดเด่นของโซดาไฟอินเดีย

  • ราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับโซดาไฟจากประเทศอื่น เช่น ไต้หวัน และไทย

การใช้งานโซดาไฟอินเดีย
โซดาไฟอินเดีย นิยมนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมดังนี้

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ โซดาไฟอินเดียนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • อุตสาหกรรมโรงชุบและโลหะ ที่ต้องใช้โซดาไฟ
  • อุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาด
  • อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากยาง
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • อุตสาหกรรมถุงมือยาง
  • ระบบบำบัดน้ำเสีย นำไปปรับความเป็นกรด เบส ของน้ำ ปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
  • ระบบผลิตน้ำประปา
  • อุตสาหกรรมกระดาษ
  • ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่

โซดาไฟอินเดีย ราคาถูก

 

 

แชร์ให้เพื่อน :