สารส้ม
สารส้มถุงละ 500-1,000 กรัม

  • ขนาดบรรจุ 500 กรัม
  • ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม
  • มาตรฐาน มอก.
  • บรรจุลังละ 36 ถุง
  • ขายราคาส่ง ราคาโรงงาน
  • ขั้นต่ำ 500 ถุง

การใช้งาน

  • ขจัดกลิ่นหมดจด ใช้ดับกลิ่น
  • ทำให้น้ำใส ใช้ำบำบัดน้ำ
  • ระงับกลิ่นกาย เช่น กลิ่นรักแร้ , กลิ่นเท้า เป็นต้น
แชร์ให้เพื่อน :

Description

สารส้ม
สารส้มถุงละ 500-1,000 กรัม

  • ขนาดบรรจุ 500 กรัม
  • ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม
  • มาตรฐาน มอก.
  • บรรจุลังละ 36 ถุง
  • ขายราคาส่ง ราคาโรงงาน
  • ขั้นต่ำ 500 ถุง

การใช้งาน

  • ขจัดกลิ่นหมดจด ใช้ดับกลิ่น
  • ทำให้น้ำใส ใช้ำบำบัดน้ำ
  • ระงับกลิ่นกาย เช่น กลิ่นรักแร้ , กลิ่นเท้า เป็นต้น

สารส้ม

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “สารส้ม” ซึ่งเป็นสารเคมีที่เราคุ้นเคยและใช้งานกันแพร่หลายครับ

บางคนคงเคยใช้สารส้มมาทารักแร้เพื่อดับกลิ่นมาแล้ว หรือบางคนคงเคยใช้สารส้มละลายและกวนน้ำเพื่อให้น้ำที่ขุ่นๆ ใสมากขึ้น

สารส้มคืออะไร?

สารส้มหรือ Alumen(ภาษาละติน) เป็นเคมีภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งนาน
สารส้มเป็น “ผนึกเกลือ” ชนิดหนึ่ง คือเป็นสารเคมที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ แต่สารส้มกลับไม่เค็ม แต่มีรสชาติเปรี้ยว จึงถูกเรียกว่า “สารส้ม”

 

คุณสมบัติของสารส้ม

– เป็นของแข็ง เป็นผลึก สีใส หรือขุ่น แล้วแต่ประเภทของสารส้ม
– ไม่มีกลิ่น สารส้มจะไม่มีกลิ่น
– ละลายน้ำ สารส้มสามารถละลายน้ำได้
– มีรสเปรี้ยว รสชาติของสารส้มจะเปรี้ยว จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “สารส้ม”
– รักษาสภาพได้เป็นอย่างดี สารส้มจะไม่ไวต่อความชื้น สามารถเก็บได้โดยไม่ละลายในความชื้น แต่ละลายน้ำ

 

สารส้มมีกี่ประเภท

สารส้มแบ่งออกเป็น 3 ประเภทโดยแบ่งตามส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

1. เกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมหรืออะลูมิเนียมซัลเฟต ลักษณะ เป็น ก้อนผงสีขาว
2. เกลือเชิงซ้อนของโพแทสเซียมหรือโพแทสเซียมอะลั่ม ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
3. เกลือเชิงซ้อนของแอมโมเนียมหรือแอมโมเนียมอะลั่ม ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

การใช้งานสารส้ม

การใช้งานสารส้มในครัวเรือน

– ทำให้น้ำใส โดยการละลายสารส้มในน้ำที่ขุ่นและกวนน้ำ ปล่อยทิ้งไว้ นำจะตกตะกอนและใสขึ้น
– ดับกลิ่น ใช้ระงับกลิ่นกลาย เช่นกลิ่นรักแร้ หรือกลิ่นเท้า
– ใช้ทาที่ส้นเท้าเพื่อรักษาและป้องกันส้นเท้าแตก

 

สรรพคุณทางยาของสารส้ม

สารส้มถูกนำมาเป็นส่วนผสมในการทำยารักษาโรค เช่น
– ใช้สมานแผลทั้งภายนอกและภายใน ใช้ทาเพื่อสมานแผล เวลาเกิดบาดแผล เป็นต้น 
– แก้ระดูขาว หนองในและหนองเรื้อรัง 
– ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปอดอักเสบ
– ใช้แก้โรครำมะนาด เหงือกเป็นแผล ช่วยรักษาแผลในช่องปาก
– ใช้ห้ามเลือดในบาดแผลเล็กๆ ได้
– ใช้เป็นยากัดฝ้าที่ปาก
– ใช้ล้างแผลในหู

การใช้งานสารส้มในโรงงานอุตสาหกรรม

– ใช้บำบัดน้ำให้ใส เช่นการผลิตน้ำประปาจะใช้สารส้มเยอะมาก เพื่อมำให้นำตกตะกอนและใสขึ้น
– อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นการผลิตกระดาษ ย้อมผ้า ฟอกหนัง ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่น ฟอกสี และ ผสมทำผงฟูใช้ในการทำขนมปัง เป็นต้น