กรดเกลือ กับการผลิตอาหาร
การใช้ กรดเกลือเป็นวัตถุเจือปนอาหาร
รู้หรือไม่? กรดเกลือ หรือ กรดไฮโครคลอริก สามารถเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารได้ หรือ วัตถุเจือปนอาหารได้
กรดเกลือ หรือไฮโดรคลอไรด์ หรือ กรดไฮโดรคลอริก มีอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สูตรทางเคมีคือ HCl กรดไฮโดรคลอริกไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติกัดกร่อนรุนแรง
กรดเกลือพบได้ในรูปของเหลว หรือน้ำ พบได้ตามธรรมชาติในกรดในกระเพาะอาหารของคน และมีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร เหมืองแร่ ยา สิ่งทอ โรงฟอกหนัง และเครื่องสำอางทั่วโลก และสารเคมีทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ
กรดเกลือ ที่ใช้งานส่วนมากอยู่ในรูปของเหลว ที่ความเข้มข้น 35% และที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ก็ใช้ตัว 35% เช่นกัน
กรเกลือได้รับอนุมัติให้เป็นหนึ่งในสารเติมแต่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุในอาหารบางประเภท และอยู่ในมาตรฐานของ GMP ทั่วโลก
อาหารที่ใช้กรดเกลือ ในส่วนผสม หรือขั้นตอนการผลิต
– ผลิตภัณฑ์จากนม บางชนิด
– ขนมปัง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากแป้ง
– อาหารกระป๋อง หรืออาหารบรรจุขวด ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม เบียร์ ไข่ดอง ซุป ซอสปรุงรส อาหารควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
– กรดเกลือใช้ในการผลิตวุ้นเจลาติน คือ การทำให้กระดูกบดเป็นกรดสำหรับการผลิตวุ้นเจลาติน
– กรดเกลือใช้หมักพวกธัญพืช เช่นถั่ว มันสำปะหลัง
– กรดเกลือ ถูกใช้ในขั้นตอนการหมัก ทําหน้าที่ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ให้เหมาะสม ในกระบวนการผลิตผงชูรสจากกากน้ําตาล (Monosodium Glutamate) กระบวนการผลิตซอสปรุงรสจากถั่วเหลือง (Soya Sauce) เป็นต้น
– กรดเกลือถูกใช้ในขั้นตอนการทําน้ําเชื่อมจากวัตถุดิบมันสําปะหลัง (Glucose หรือ Fructose Syrup) ให้มีความใสและบริสุทธิ์
โดยกรดเกลือ ช่วยในการเพิ่มรสชาติอาหาร ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ของอาหาร และลดการเน่าเสีย หรือใช้ กรดเกลือในขั้นตอนการฆ่าเชื้อ เป็นต้น
อย่างที่ทราบมาแล้วว่า กรดเกลือ มีการกัดกร่อนที่รุนแรง ในการใช้งานต้องระมัดระวัง