การใช้ “โซดาไฟ” เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหรือสัตว์เลื้อยคลานเข้าบ้าน

แชร์ให้เพื่อน :

การใช้ “โซดาไฟ” เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหรือสัตว์เลื้อยคลานเข้าบ้าน

ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน และปัญหาที่เรามักเจอกันในช่วงหน้าฝนคือ สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์มีพิษและแมลงต่างๆ มักจะเข้าบ้าน เช่น งู ,ตะขาบ, แมลงป่อง, กิ้งกือ สัตว์ต่างๆ พวกนี้มักจะพากันหนีน้ำ เข้ามาในบ้านเรา ซึ่งทำให้เราไม่ปลอดภัย

การแก้ปัญหาหรือการป้องกันสัตว์ดังกล่าวเข้าบ้านมีหลายวิธี แต่วันนี้เรามาดูวิธีการใช้ “โซดาไฟเกล็ด” เพื่อป้องกันสัตว์เหล่านี้เข้ามาในบ้าน โดยวิธีการก็ไม่ยุ่งยากเลย สามารถทำได้ง่ายและค่อนข้างได้ผล

 

โดยสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. โซดาไฟแบบเกล็ด 50-100 กรัม
2. น้ำครึ่งลิตร

หรือปริมาณของโซดาไฟกับน้ำ ในอัตราส่วนข้างต้น 

วิธีการใช้งาน

ละลายโซดาไฟกับน้ำ แล้วนำไปเทราดบริเวณท่อระบายน้ำภายในห้องน้ำ ห้องครัว หรือรอบบ้าน หรือรอยแตกหรือร่องรอบๆบ้าน โซดาไฟจะกัดกร่อน และโซดาไฟมีความร้อนสูง จะมีกลิ่นฉุน ทำให้ตะขาบ งู หรือสัตว์เลื้อยคลาน ไม่กล้าขึ้นมาบริเวณท่อระบายน้ำอีก หรือไม่กล้าผ่านไปในบริเวณบ้าน

 

สรุป 

ความร้อนและกลิ่นของโซดาไฟ จะทำให้สัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่ชอบและจะไม่ผ่านบริเวณนั้น และจะไม่เลื้อยเข้าบ้าน 


แชร์ให้เพื่อน :

การใช้โซดาไฟ แก้ปัญหาต่างๆ

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ สามารถใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในครัวเรือนได้ โดยใช้งานต่างๆ ดังนี้

โดยโซดาไฟ ที่ใช้เป็นโซดาไฟ 99% สามารถหาซื้อได้จากร้านขายของชำ หรือร้านวัสุดก่อสร้าง หรือร้านขายอุปกรณ์การเกษตร


ดาวน์โหลด PDF การใช้โซดาไฟแก้ปัญหา


โซดาไฟแก้ส้วมตันหรือท่อตัน

โซดาไฟสามารถแก้ปัญหา ส้วมตันหรือท่อตันได้ โดยใช้โซดาไฟในอัตราส่วนดังนี้

โซดาไฟ 50-100 กรัม : น้ำ 0.5 ลิตร โดยใช้โซดาไฟละลายน้ำแล้วเทราดลงส้วมหรือท่อที่ตัน เพื่อให้โซดาไฟกัดกร่อนสิ่งที่อุดตัน ให้ละลายลงท่อไป และราดต่อด้วยน้ำสะอาดหรือกดชักโครกเพื่อล้างทำความสะอาด



โซดาไฟใช้ล้างพื้นหรือขจัดคราบฝังแน่น

ใช้โซดาไฟเกล็ด โรยลงบริเวณที่มีตะไคร่น้ำ โดยโรยลงในขณะพื้นเปียก และทิ้งเอาไว้สักพักประมาณ 15-30 นาที จากนั้นใช้แปรงขัดให้สะอาด เสร็จแล้วให้ฉีดน้ำเพื่อเป็นการทำความสะอาดอีกครั้ง

หรือใช้โซดาไฟ 50-100 กรัม : น้ำ 0.5 ลิตร ละลายโซดาไฟในน้ำแล้วนำไปราดคราบที่สกปรก ทิ้งไว้สักพักแล้วใช้แปรงขัด ทำความสะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง


โซดาไฟใช้กำจัดวัชพืช
ยาฆ่าหญ้า ทำจากโซดาไฟโดยใช้วัตถุดิบอัตราส่วนดังนี้

ส่วนผสม
1.สับปะรดสับ 20 กก.
2.เกลือ 10 กก.
3.โซดาไฟ 99% 1 กก.
4.น้ํา 20 ลิตร

 

วิธีทํา

1.สับสับปะรดแล้วใส่เกลือและน้ํา
แล้วคนให้เข้ากัน
2.ใส่โซดาไฟแล้วคนให้เข้ากัน
3. หมักไว้ไม่ต่ำกว่า 15 วัน ก่อนนำไปใช้งาน

 

วิธีใช้
1.ผสมน้ำหมัก 100 ซีซี / น้ํา 20 ลิตร
• ใช้พ่นวัชพืชสัปดาห์ละครั้ง หรือ 2 ครั้ง วัชพืชจะค่อยๆตายๆ 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การใช้โซดาไฟใช้กำจัดวัชพืช


โซดาไฟใช้บำบัดน้ำ

โซดาไฟเป็นสารเคมีที่เป็นด่างสูงมาก มักนำไปใช้บำบัดน้ำที่เป็นกรด โดยเติมดซดาไฟลงไปในน้ำแล้ววัดค่า PH ของน้ำให้อยู่ในระดับ 5.5-8.5


โซดาไฟป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ให้เข้าบ้าน

โซดาไฟสามารถป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ให้เข้าบ้านได้ ในช่วงหน้าฝน มักจะมีสัตว์เลื้อยเช่นงู ตะขาบ แมงป่อง คลานเข้าบ้าน เราสามารถใช้โซดาไฟเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายเหล่านั้นได้

.
วิธีการใช้งานโซดาไฟก็ไม่ยุ่งยาก โดยทำดังนี้

– โซดาไฟ 50-100 กรัม : น้ำ 0.5 ลิตร

นำเอาโซดาไฟ ผสมกับน้ำ แล้วเทราดบริเวณท่อระบายน้ำภายในห้องน้ำ ห้องครัว หรือรอบบ้าน โซดาไฟจะกัดกร่อน และโซดาไฟมีความร้อนสูง ทำให้ตะขาบ งู หรือสัตว์เลี้ยคลาน ไม่กล้าขึ้นมาบริเวณท่อระบายน้ำอีก


แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ อันตรายมั๊ย?

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ อันตรายมั๊ย และอันตรายอย่างไร?

โซดาไฟ ถือว่าเป็นสารเคมีที่ใช้งานกันหลากหลาย ใช้ในหลายด้าน แต่โซดาไฟ ก็ถือว่าเป็นสารเคมีที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจะเกิดอันตรายจากการใช้งานได้ เพราะโซดาไฟเป็ยสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง โซดาไฟเกล็ดเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือละลายน้ำจะเกิดการปะทุ และเกิดความร้อนขึ้น อาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้

“โซดาไฟเป็นสารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง”


เรามาดูกันว่า โซดาไฟ เกิดอันตรายอย่างไรได้บ้าง

อันตรายของโซดาไฟต่อร่างกาย

ผิวหนัง: ก่อให้เกิดพิษไหม้กับผิวหนัง สัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวไหม้ เกิดแผลพุพอง ลึกถึงเนื้อเยื่อ อาจเป็นแผลเป็น

ดวงตา: สัมผัสจะทำให้เกิดการระคายเคือง ตาแดง แสบตา รุนแรงอาจตาบอด
ระบบทางเดินหายใจ: สูดดมฝุ่นละอองจะทำให้ระคายเคือง ไอ หายใจลำบาก ปอดอักเสบ
ระบบทางเดินอาหาร: กลืนกินจะทำให้แสบคอ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย กรดกัดกระเพาะ อาจเสียชีวิต
อันตรายอื่นๆ

อันตรายของโซดาไฟต่อสิ่งของ

โซดาไฟทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นๆ : โซดาไฟทำปฏิกิริยากับกรด หรือสารเคมีบางชนิด และน้ำทำให้เกิดความร้อนปะทุ และแก๊สพิษ ขึ้นได้

โซดาไฟสามารถกัดกร่อนทำลายสิ่งของต่างๆ ได้: โซดาไฟกัดกร่อนวัสดุต่างๆ เช่น พลาสติก,เสื้อผ้า, ไม้ เป็นต้น ดังนั้นควรใช้โซดาไฟอย่างระมัดระวัง

ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ เพื่อป้องกันอันตราย

  • สวมใส่ชุดป้องกัน ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ท เมื่อใช้งานโซดาไฟทุกครั้ง 
  • เก็บโซดาไฟให้พ้นมือเด็ก สัตว์เลี้ยง และความชื้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น หรือป้องกันเด็กเอามาเล่น
  • เก็บโซดาไฟในภาชนะที่ปิดมิดชิด
  • ใช้ในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันฝุ่นควันของโซดาไฟ
  • ล้างมือและล้างร่างกายให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้งานโซดาไฟ
  • รีบล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที ทันทีที่สัมผัสโซดาไฟ
  • รีบไปพบแพทย์ทันที หากโซดาไฟเข้าตา เข้าปาก หรือสัมผัสผิวหนัง
  • โซดาไฟเป็นสารเคมีอันตราย ควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอันตรายต่อร่างกายและสิ่งของ

“โซดาไฟเป็นสารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง”

แชร์ให้เพื่อน :

รีวิวการใช้โซดาไฟทำสบู่

แชร์ให้เพื่อน :

รีวิวการใช้โซดาไฟทำสบู่

โซดาไฟทำสบู่

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมารีวิว โซดาไฟ ที่ซื้อมาจากร้าน thaichems เพื่อมาใช้ทำสบู่ครับ ซึ่งธุรกิของผมเป็นธุรกิจทำสบู่ และเรามีการใช้โซดาไฟทำเป็นประจำอยู่แล้ว โดยโซดาไฟที่ผมเลือกใช้เป็น โซดาไฟจีน ความบริสุทธิ์ 99%

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโซดาไฟกันก่อนครับ

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นด่างสูง จำเป็นสำหรับใช้ในการทำสบู่ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนน้ำมันหรือไขมันให้กลายเป็นสบู่ โดยทำปฏิกิริยากับกรดไขมันในน้ำมัน เกิดเป็น “สบู่” ดังนั้นจึงนิยมนมาใช้ทำสบู่ นั่นเอง

 

ทำไมผมจึงเลือกใช้ โซดาไฟทำสบู่

  • หาซื้อได้ง่าย: โซดาไฟสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายสารเคมี ร้านขายวัสดุก่อสร้าง หรือซื้อออนไลน์
  • ราคาไม่แพง: โซดาไฟมีราคาค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับสารเคมีที่มช้ทำสบู่ตัวอื่นๆ
  • ใช้งานง่าย: โซดาไฟสามารถละลายน้ำได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน
  • ทำสบู่ได้หลากหลายประเภท: โซดาไฟสามารถใช้ทำสบู่ได้หลากหลายประเภท เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพู ครีมนวดผม โลชั่น ฯลฯ
  • ควบคุมคุณสมบัติของสบู่ได้: โซดาไฟสามารถควบคุมคุณสมบัติของสบู่ เช่น ความแข็ง ความนุ่ม ฟอง สี กลิ่น เป็นต้น

 

ข้อเสียของการใช้โซดาไฟทำสบู่

ถึงแม้โซดาไฟจะนิยมนำมาใช้ทำสบู่ แต่ก็มีข้อเสียบางประการที่ต้องระวัง ดังนี้

  • โซดาไฟกัดกร่อนรุนแรง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • เกิดไอระเหยขึ้นได้ : โซดาไฟเมื่อละลายน้ำจะเกิดไอระเหย ไอระเหยของโซดาไฟอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้โซดาไฟทำสบู่ โซดาไฟกับอุตสาหกรรม การผลิตสบู่

ตัวอย่างสบู่ที่ทำจากโซดาไฟ

 

ลักษณะของโซดาไฟเกล็ดที่ใช้ทำสบู่

 

โซดาไฟเกล็ดแบบกระสอบ มาส่งที่โรงงาน พร้อมใช้ทำสบู่

แชร์ให้เพื่อน :

กรดเกลือใช้บำบัดน้ำ

แชร์ให้เพื่อน :

การใช้กรดเกลือใช้บำบัดน้ำ

กรดเกลือ (HYDROCHLORIC ACID 35%)

กรดเกลือใช้บำบัดน้ำที่มีค่า PH ของน้ำที่สูงเกินกว่า 7.8 ppm คือน้ำที่มีความเป็นด่างสูงมาก
*** น้ำทีมีค่า PH ของน้ำสูงๆ คือน้ำที่เป็นด่างสูง หรือน้ำด่าง คือ น้ำที่มีค่า pHมากกว่า 7 ซึ่งมักจะพบว่า เป็นคุณสมบัติของน้ำแร่

กรดเกลือถือว่าเป็นสารเคมีตัวนึง ที่เราเคยได้ยินชื่อ และมีการใช้งานที่หลากหลาย กรดเกลือถูกนำมาใช้ในการบำบัดน้ำหรือปรับสภาพได้ โดยกรดเกลือใช้บำบัดน้ำในที่ต่างๆ เช่น

– การผลิตน้ำประปา
– การบำบัดน้ำในห้างสรรพสินค้า
– การบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำ กรดเกลือสำหรับสระว่ายน้ำ

เป็นต้น


อัตราส่วนการใช้กรดเกลือ เพื่อปรับสภาพน้ำ

โดยการใช้ กรดเกลือ ในการบำบัดน้ำจะใช้กับน้ำที่มี ค่า PH ของน้ำที่สูงเกินกว่า 7.8 ppm

โดยใช้ กรดเกลือ ในปริมาณ ดังนี้คือ

  • น้ำ 100 คิวเติมกรดเกลือ 1 กิโลกรัม
  • หรือ 10 คิวต่อกรดเกลือ 100 กรัม

 

อัตราส่วนการใช้กรดเกลือ บำบัดน้ำเสีย

สารเคมี สภาพน้ำ จำนวนกรัม
กรดเกลือ PH 7.1+ 1 กิโลกรัม/ น้ำ 100 คิว


กรดเกลือที่ใช้บำบัดน้ำส่วนมากจะบรรจุมาในถัง 20-25 กิโลกรัม
บรรจุ : 20-25 กก./ถัง

ข้อดีของการใช้กรดเกลือบำบัดน้ำ

– ใช้ปรับลด ค่า PH ของน้ำลงได้ เพราะกรดเกลือมีความเป็นกรดสูง
– ใช้ฆ่าเชื้อโรค ในน้ำ โดยกรดเกลือสามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้
– ใช้ทำความสะอาด ขจัดคราบตะไคร่น้ำ คราบสกปรกที่อยู่บริเวณภาชนะใส่น้ำหรือสระว่ายน้ำ

แชร์ให้เพื่อน :

จัดส่งกรดเกลือ 200 ถัง ให้ลูกค้า

แชร์ให้เพื่อน :

จัดส่งกรดเกลือ 200 ถัง ให้ลูกค้า

สินค้า : กรดเกลือ 35%
จำนวน : 200 ถัง
สถานที่ : ชลบุรี พัทยา
แพคเกจ : ถัง 20 ลิตร
รถขนส่ง : รถกระบะมีหลังคาสูง
การใช้งาน : นำไปจำหน่ายหน้าร้าน ใช้สำหรับบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำ

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟเก็บได้นานแค่ไหน?

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟเก็บได้นานแค่ไหน?

โซดาไฟสามารถเก็บไว้ได้นาน 2 ปี โดยที่ไม่เสื่อมสภาพ แต่ควรเก็บในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


“โซดาไฟสามารถเก็บไว้ได้นาน 2 ปี” โดยที่ยังคงคุณสมบัติที่ใช้งานได้


สำหรับหลายๆท่านที่สงสัยว่าโซดาไฟเก็บได้นานแค่ไหน และควรเก็บอย่างไร ควรทำดังนี้

โซดาไฟควรเก็บในสภาพแวดล้อมดังนี้

  1. แห้ง ควรเก็บโซดาไฟไว้ในที่แห้ง อยู่ในที่ร่ม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือเก็บได้ในโกดังเก็บของปกติ
  2. ห่างจากแหล่งน้ำหรือความชื้น เพราะโซดาไฟดูดความชื้นได้ดีและละลายเป็นน้ำได้ง่าย ควรเก็บโซดาไฟให้ห่างจากความชื้น
  3. ไม่ควรวางกระสอบโซดาไฟบนพื้นโดยตรง ควรหาไม้มารองหรือวัสดุอื่นมารองและวางโซดาไฟให้พ้นพื้น
  4. หากเจอโซดาไฟที่เริ่มละลายหรือชื้น ควรแยกออกจากกองโซดาไฟ นำไปเก็บต่างหาก

การเก็บโซดาไฟ ควรเก็บในที่ร่ม แห้ง และวางให้พ้นพื้น โดยหาอะไรมารอง
แชร์ให้เพื่อน :

จัดส่งโซดาไฟ จำนวน 500 กิโลกรัม ให้ลูกค้า

แชร์ให้เพื่อน :

จัดส่งโซดาไฟ จำนวน 500 กิโลกรัม ให้ลูกค้า

สินค้า : โซดาไฟ
จำนวน : 500 กิโลกรัม / 20 กระสอบ
การขนส่ง : บริษัทเอกชน จัดส่งถึงหน้างานลูกค้า

โซดาไฟของเรา จัดส่งให้ทางบริษัทเอกชนได้ โดยหากเป็นส่งในเขต กทม และปริมณฑลเราสามารถไปส่งได้ด้วยรถของบริษัทเราเองได้ แต่หากเป็นลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดหรือห่างไกล เราก็สามารถจัดส่งได้ทางบริษัทขนส่งเอกชน ไปถึงลูกค้าได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นขอให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการขนส่ง

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ สารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ สารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

โซดาไฟคือ สารเคมีชนิดหนึ่ง มักพบในรูปแบบโซดาไฟเกล็ดแข็ง เมื่อละลายน้ำจะมีความร้อนเกิดขึ้น อาจจะเกิดอันตรายได้

โซดาไฟ เป็นสารเคมีที่เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยได้ยินชื่อ หรือใช้งาน สารเคมีตัวนี้กันมาแล้ว แต่โซดาไฟนั้นมีความอันตราย ซึ่งในขั้นตอนการใช้งานนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากโซดาไฟขึ้นได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะของโซดาไฟเกล็ด

อันตรายที่อาจเกิดจากโซดาไฟ

อันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้งานโซดาไฟ กับร่างกาย หรือการรั่วไหลของโซดาไฟสู่ธรรมชาติ

อันตรายต่อผิวหนัง หรือการสัมผัส

  • การสัมผัสโซดาไฟจะทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดแผลลึก เป็นผื่นแดง คัน ระคายเคือง
    กรณีรุนแรงอาจเกิดเนื้อตาย

การปฐมพยาบาล

หากสัมผัสโซดาไฟแล้วเกิดแผลบนผิวหนัง
ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกทันที แล้วล้างด้วยน้ำปริมาณมาก


อันตรายต่อดวงตา หากโซดาไฟกระเด็นเข้าตา

โซดาไฟสามารถกัดกร่อนดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง ตามัว แสบตา กรณีรุนแรงอาจตาบอด

การปฐมพยาบาลหากโซดาไฟเข้าตา
ล้างออกด้วยความระมัดระวังด้วยน้ำหลายๆนาที ถอดคอนแทคเลนส์ออกถ้ามีและล้างน้ำอย่างต่อเนื่อง


อันตรายจากการสูดดมควันโซดาไฟ

การสูดดมฝุ่นควันหรือละอองของโซดาไฟ จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด
กรณีรุนแรงอาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด

การปฐมพยาบาลหากสูดดมโซดาไฟ
ให้นำผู้ป่วยออกไปรับอากาศข้างนอกที่อากาศบริสุทธิ์และให้พักผ่อนในท่าที่สามารถหายใจได้สะดวกหรือแพทย์ทันที หากอาการไม่ดีขึ้น


อันตรายจาการกินโซดาไฟ

การกลืนกินโซดาไฟจะทำให้เกิดอาการแสบคอ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อุจจาระร่วง
กรณีรุนแรงอาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ทะลุ เลือดออกในกระเพาะอาหาร เสียชีวิต

การปฐมพยาบาลหากกลืนกินโซดาไฟ
ล้างปากด้วยน้ำ ห้ามทำให้อาเจียน และพาผู้ป่วยพบแพทย์ทันที


อันตรายอื่นๆ จากโซดาไฟ

  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับความร้อน เกิดความร้อนสูง
  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับกรด เกิดก๊าซพิษ
  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ

การป้องกันอันตรายจากโซดาไฟ

  • การป้องกันระบบหายใจ : สวมหน้ากากป้องกันไอจากโซดาไฟ เช่น Mask95 หรืออุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ ชนิดกรองไอสารเคมี
  • การป้องกันตา : สวมแว่นตานิรภัย หรือแว่นครอบตา
  • การป้องกันมือ : สวมถุงมือยาง
  • การป้องกันลําตัว : เสื้อแขนยาว หรือชุดป้องกันสารเคมี รองเท้าป้องกันสารเคมี เป็นต้น

 

ข้อควรระวังในการเก็บโซดาไฟ

  • เก็บให้ห่างจากแหล่งน้ำ
  • ห้ามทิ้งโซดาไฟลงแหล่งน้ำ
  • ป้องกันไม่ให้สารละลายโซดาไฟ หรือโซดาไฟไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ เพราะโซดาไฟมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ซึ่งมีอันตรายเนื่องจากโซดาไฟจะไปเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำ ทำให้เป็นอันตรายกับสัตว์น้ำ

 

การจัดเก็บโซดาไฟ
การจัดเก็บโซดาไฟ

 


แชร์ให้เพื่อน :

ราคากรดเกลือ

แชร์ให้เพื่อน :

ราคากรดเกลือ (อัพเดท มีนาคม 2567)

ขนาดบรรจุ (ลิตร) ราคา (บาท) ราคาต่อกิโลกรัม (บาท)
1 ลิตร 20 20 1 ลิตร
5 ลิตร 100 20 5 ลิตร
20 ลิตร 200 20 20 ลิตร
200 ลิตร 40,000 20 200 ลิตร

*** ราคากรดเกลือ มีการเปลี่ยนแปลงอัพเดทตลอด ราคาล่าสุดสามารถสอบถามทางเซลล์ หรือไลน์ในหน้าเว็บได้เลย

แชร์ให้เพื่อน :