โซดาไฟ สารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟ สารเคมีอันตราย ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

โซดาไฟคือ สารเคมีชนิดหนึ่ง มักพบในรูปแบบโซดาไฟเกล็ดแข็ง เมื่อละลายน้ำจะมีความร้อนเกิดขึ้น อาจจะเกิดอันตรายได้

โซดาไฟ เป็นสารเคมีที่เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยได้ยินชื่อ หรือใช้งาน สารเคมีตัวนี้กันมาแล้ว แต่โซดาไฟนั้นมีความอันตราย ซึ่งในขั้นตอนการใช้งานนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากโซดาไฟขึ้นได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะของโซดาไฟเกล็ด

อันตรายที่อาจเกิดจากโซดาไฟ

อันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้งานโซดาไฟ กับร่างกาย หรือการรั่วไหลของโซดาไฟสู่ธรรมชาติ

อันตรายต่อผิวหนัง หรือการสัมผัส

  • การสัมผัสโซดาไฟจะทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดแผลลึก เป็นผื่นแดง คัน ระคายเคือง
    กรณีรุนแรงอาจเกิดเนื้อตาย

การปฐมพยาบาล

หากสัมผัสโซดาไฟแล้วเกิดแผลบนผิวหนัง
ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกทันที แล้วล้างด้วยน้ำปริมาณมาก


อันตรายต่อดวงตา หากโซดาไฟกระเด็นเข้าตา

โซดาไฟสามารถกัดกร่อนดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง ตามัว แสบตา กรณีรุนแรงอาจตาบอด

การปฐมพยาบาลหากโซดาไฟเข้าตา
ล้างออกด้วยความระมัดระวังด้วยน้ำหลายๆนาที ถอดคอนแทคเลนส์ออกถ้ามีและล้างน้ำอย่างต่อเนื่อง


อันตรายจากการสูดดมควันโซดาไฟ

การสูดดมฝุ่นควันหรือละอองของโซดาไฟ จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด
กรณีรุนแรงอาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด

การปฐมพยาบาลหากสูดดมโซดาไฟ
ให้นำผู้ป่วยออกไปรับอากาศข้างนอกที่อากาศบริสุทธิ์และให้พักผ่อนในท่าที่สามารถหายใจได้สะดวกหรือแพทย์ทันที หากอาการไม่ดีขึ้น


อันตรายจาการกินโซดาไฟ

การกลืนกินโซดาไฟจะทำให้เกิดอาการแสบคอ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อุจจาระร่วง
กรณีรุนแรงอาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ทะลุ เลือดออกในกระเพาะอาหาร เสียชีวิต

การปฐมพยาบาลหากกลืนกินโซดาไฟ
ล้างปากด้วยน้ำ ห้ามทำให้อาเจียน และพาผู้ป่วยพบแพทย์ทันที


อันตรายอื่นๆ จากโซดาไฟ

  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับความร้อน เกิดความร้อนสูง
  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับกรด เกิดก๊าซพิษ
  • โซดาไฟทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ

การป้องกันอันตรายจากโซดาไฟ

  • การป้องกันระบบหายใจ : สวมหน้ากากป้องกันไอจากโซดาไฟ เช่น Mask95 หรืออุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ ชนิดกรองไอสารเคมี
  • การป้องกันตา : สวมแว่นตานิรภัย หรือแว่นครอบตา
  • การป้องกันมือ : สวมถุงมือยาง
  • การป้องกันลําตัว : เสื้อแขนยาว หรือชุดป้องกันสารเคมี รองเท้าป้องกันสารเคมี เป็นต้น

 

ข้อควรระวังในการเก็บโซดาไฟ

  • เก็บให้ห่างจากแหล่งน้ำ
  • ห้ามทิ้งโซดาไฟลงแหล่งน้ำ
  • ป้องกันไม่ให้สารละลายโซดาไฟ หรือโซดาไฟไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ เพราะโซดาไฟมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ซึ่งมีอันตรายเนื่องจากโซดาไฟจะไปเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำ ทำให้เป็นอันตรายกับสัตว์น้ำ

 

การจัดเก็บโซดาไฟ
การจัดเก็บโซดาไฟ

 


แชร์ให้เพื่อน :