โซดาไฟกับอุตสาหกรรม การผลิตสบู่

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟกับอุตสาหกรรม การผลิตสบู่

การผลิตสบู่ด้วยโซดาไฟ
อุตสาหกรรมการผลิตสบู่และการใช้โซดาไฟ โซดาไฟนั้นใช้งานจำนวนมากในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่ อย่างที่หลายคนคงเคยได้ยินมาแล้วว่า สบู่นั้นคือไขมันสัตว์ หรือไขมันพืช แต่ในการผลิตสบู่นั้นใช้โซดาไฟเป็นส่วนสำคัญในการผลิต การใช้โซดาไฟทำสบู่ คือ การผสมโซดาไฟละลายน้ำกับไขมัน จนเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ซาพอนนิฟิเคชัน และของเหลวแข็งตัวเป็นก้อน และนำไปใช้ต่อไป

  • สบู่ คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดผิวกาย โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์และ ด่าง (โซดาไฟ)
  • สบู่มีประโยชน์ในการขจัดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคออกจากร่างกาย
  • สบู่มีหลายประเภท เช่น สบู่แข็ง สบู่เหลว และสบู่สมุนไพร

ในที่นี่เราจะพูดถึงการผลิตสูบ่ โดยใช้โซดาไฟเป็นส่วนประกอบ และขั้นตอนการทำสบู่ใช้ ด้วยตัวเอง

โซดาไฟทำสบู่

สบู่ผลิตขึ้นจากส่วนผสมพื้นฐาน 3 อย่าง คือ

  1. น้ำสะอาด
  2. ด่าง(โซดาไฟ) สารละลายโซดาไฟ หรือโซดาไฟน้ำ
  3. ไขมัน ไขมันพืช หรือไขมันสัตว์ เมื่อด่างผสมกับน้ำ เป็นสารละลายด่างถูกนำไปผสมกับไขมัน ได้ผลผลิตเป็นสบู่ธรรมชาติซึ่งเป็นส่วนผสมของสบู่

 


การทำสบู่ล้างหน้าสูตรถนอมผิวและบำรุงผิว สำหรับใช้เอง

ส่วนผสม

  • น้ำมันปาล์ม 150 กรัม
  • น้ำมันมะพร้าว 125 กรัม
  • น้ำมันมะกอก 100 กรัม
  • น้ำมันโจโจ้บาร์ 90 กรัม
  • น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน 35 กรัม
  • โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) 66.31 กรัม
  • น้ำกลั่น 190 กรัม(SF 3%)

 

การเตรียมน้ำด่าง หรือน้ำโซดาไฟ

ก่อนทำการทำน้ำโซดาไฟควรใส่แว่นตา ถุงมือ ถ้ามีผ้าปิดจมูกปาก เพื่อป้องกันฝุ่นควันจากโซดาไฟ

  1. ชั่งน้ำกลั่น 190 กรัม
  2. ชั่งโซดาไฟ 66.31 กรัม
  3. ค่อยๆผสมโซดาไฟ โดยค่อย ๆ เทโซดาไฟลงในน้ำ คนจนละลายหมด (ห้ามเทน้ำลงในโซดาไฟ ให้เทโซดาไฟลงในน้ำเท่านั้น)
    ระหว่างนี้น้ำด่างจะมีอุณหภูมิที่สูง เกิความร้อนและควันขึ้น ตั้งไว้ให้อุณหภูมิลดลง เพื่อนไปใช้ในขั้นตอนต่อไป

จัดเตรียมน้ำมันทั้งหมด และเมื่อน้ำด่างมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำมัน ให้ผสมส่วนผสมอื่นๆดังนี้

  1.  เริ่มเทน้ำด่างโซดาไฟ ลงน้ำมันได้เลย
  2. กวนไปเรื่อย ๆ กวนกันนานเลยละ ถ้ามีอุปกรณ์ช่วยอย่าง Hand Blender ก็จุ่มลงปั่นได้เลย ประหยัดแรงไปได้เยอะ
  3. ปั่นจนเป็นเนื้อครีมแล้ว ก็ใส่น้ำหอมลงไปผสม
  4. ใส่ผงสมุนไพร ลงไปผสม
  5. กวนต่อจนน้ำหอมและผงสมุนไพรเข้ากันดี แล้วเทลงแม่พิมพ์
  6.  ปิดฝา แล้วเอาผ้าขนหนูมาห่อเอาไว้ พักทิ้งจนแข็งตัว ประมาณ 12-24 ชั่วโมง หรือรอจนกว่าสบู่จะแข็งพอที่จะถอดจากแม่พิมพ์ได้
  7. ตัดตามขนาดที่เราต้องการได้เลย และตากสบู่ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงนำสบู่มาใช้ได้

 

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

  • อย่าเทน้ำลงในด่าง(โซดาไฟ) อาจจะทำให้เกิดการประทุหรือระเบิดได้
  • อย่าใส่โซดาไฟไว้ในภาชนะที่เป็นสังกะสีหรืออลูมิเนียม
  • อย่าสูดไอระเหยของโซดาไฟ ควรทำการผลิตสบู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้ดี

จะเห็นได้ว่า สิ่งสำคัญในการผลิตสบู่คือ ไขมันสัตว์ ไขมันพืช และโซดาไฟ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำสบู่นั้นเอง


แชร์ให้เพื่อน :

ราคาโซดาไฟ อัพเดทมีนาคม 2565

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ ช่วงนี้ราคาสินค้าต่างๆ ได้ปรับตัวขึ้นสูงขึ้น เป็นอย่างมาก วันนี้เรามาดูราคาโซดาไฟ อัพเดทกันครับ


ราคาโซดาไฟ อัพเดท (มีนาคม 2565)

  • ขนาดบรรจุ 25 กิโลกรัม ต่อกระสอบ
  • โซดาไฟจีน(เกล็ด) 99% ราคา 34 บาท / กิโลกรัม
  • โซดาไฟไต้หวัน(เกล็ด) ราคา 34.50 บาท / กิโลกรัม
  • โซดาไฟไต้หวัน (ไข่มุก) ราคา 34.75 บาท / กิโลกรัม
  • โซดาไฟอาซาฮี (เกล็ด) 34.50 บาท / กิโลกรัม
  • โซดาไฟอาซาฮี (ไข่มุก) 34.75 บาท / กิโลกรัม
  • โซดาไฟอินเดีย (เกล็ด) 33 บาท / กิโลกรัม

***  ขั้นต่ำ 500 กิโลกรัม ( 20 กระสอบ )

*** ราคามีการปรับตัวขึ้น ลงตลอด 

 

ซึ่งราคานี้ เป็นราคาปัจจุบัน และอาจจะมีการปรับตัวขึ้นลง ได้ตลอดเวลา หากต้องการทราบราคาที่อัพเดท กรุณาสอบถามทางไลน์

  • โซดาไฟใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม 

  • โซดาไฟใช้ในการเกษตร

  • โซดาไฟใช้ในการชำระล้าง ล้างขวด ล้างคอกสัตว์ ล้างตลาดสด

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟช่วยทำความสะอาดพื้นบ้าน

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟช่วยทำความสะอาดพื้นบ้าน

ใช้ล้างพื้นที่สกปรกเป็นพิเศษ

โซดาไฟคืออะไร โซดาไฟหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีลักษณะเป็นเม็ดแข็งสีขาว สามารถละลายในน้ําได้ มีสมบัติเป็นด่าง มีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรง ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนผสมในการทําสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักฟอก สารเคมีที่ใช้ล้างพื้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

 

ประโยชน์ของโซดาไฟในการทำความสะอาดบ้าน

  • ช่วยล้างพื้นที่มีคราบหินปูนเกาะ
  • โซดาไฟนั้นช่วยในการทําความสะอาดพื้นห้องน้ํา ล้างคราบหินปูนในห้องน้ำ ซึ่งหากพื้นห้องน้ําหรือตามซอกของขอบมุมในห้องน้ําทั้งที่เป็นปูนเปลือยและกระเบื้องที่โดนน้ําอยู่เป็นประจําหรือเป็นทางไหลของน้ํา มักจะมีหินปูนเกาะอยู่ตามบริเวณนั้นจนบางครั้งก็เกิดเชื้อรา
  • การแก้ไขพื้นห้องน้ำที่มีคราบหินปูนเกาะ ให้แก้ไขโดยการใช้โซดาไฟที่ผสมกับน้ําหรือน้ํายาล้างห้องน้ําที่มีส่วนผสมของโซดาไฟมาเทราดบริเวณนั้นเพื่อละลายคราบหินปูน แต่หากเป็นซอกกระเบื้องที่มียาแนวอยู่ก็ให้ผสมโซดาไฟกับน้ําให้เจือจาง เพราะหากเข้มขันจนเกินไปจะทําให้ ยาแนวหลุดล่อนได้
  •  ช่วยล้างท่อ ที่มีของเสียอุดตัน
    โซดาไฟช่วยในการละลายการอุดตันของท่อน้ำเสีย อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่าโซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อน จึงช่วยในการละลายเศษขยะ เศษผม ที่มาอุดตันในท่อน้ําได้ แต่การใช้โซดาไฟละลายการอุดตันท่อน้ํานี้มีข้อควรระวังคือ หากใช้ในปริมาณที่ มากอาจทําให้ท่อน่าเสียหายได้

โซดาไฟมีประโยชน์ในการดูแลรักษาบ้าน

แต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรสูดดม หรือใช้ถุงมือยางในการใช้งานโซดาไฟ เพื่อป้องกันตัวเองในการใช้งานโซดาไฟ

*** โซดาไฟใช้ทำอะไรบ้าง


แชร์ให้เพื่อน :

กรดออกซาลิก (Oxalic acid)

แชร์ให้เพื่อน :

กรดออกซาลิก (Oxalic acid)

ชื่อผลิตภัณณ์ : กรดออกซาลิก (Oxalic acid)

สูตรเคมี : H2C2O4

ขนาดบรรจุ  : 25KG / Bags ( ถุงละ  25 กิโลกรัม )

ความเข้มข้น : ความเข้มข้น 99%

ประเทศที่ผลิต : จีน China

ราคา 1 ตัน / 40 ถุง  : 29 บาท ก่อน vat

* ส่งฟรี กทม และปริมณฑล


 

 

สูตรเคมี : H2C2O4 (anhydrous)
H2C2O4·2H2O (dihydrate)

 

กรดออกซาลิก (อังกฤษ: Oxalic Acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโมเลกุล H2C2O4 และมีความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้ม (อังกฤษ: Acetic Acid) 10000 เท่า เมื่ออยู่ในรูปของประจุจะเรียกว่า ออกซาเลต (oxalate) ซึ่งเป็นตัวรีดิวส์ ที่ดีเหมือนกับหมู่ลิแกนด์ (ligand) ในสารประกอบเชิงซ้อน โลหะไอออนจะไม่ละลายน้ำเมื่อรวมกับออกซาเลต เช่น แคลเซียมออกซาเลต (อังกฤษ: Calcium Oxalate) ซึ่งเป็นนิ่วที่พบในไต

กรดออกซาลิกมีมวลโมเลกุล 90.03 g/mol (anhydrous) ความหนาแน่น 1.90 g/cm³ (dehydrate) จุดหลอมเหลว 101-102 °C (dehydrate) กรดออกซาลิกสามารถเตรียมได้จากการออกซิไดซ์น้ำตาลกลูโคสด้วยกรดไนตริก โดยมี vanadium pentoxide เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือในระดับอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตในปริมาณที่มากจะใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ร้อนดูดรับก๊าซ คาร์บอนมอนออกไซด์ ภายใต้ความดันสูงซึ่งจะได้ โซเดียมออกซาเลต เป็นผลิตภัณฑ์

กรดออกซาลิกจะทำปฏิกิริยาให้สารประกอบ carboxylic acid อื่นๆเช่น สารประกอบ ester (dimethyloxalate), สารประกอบ acid chloride (oxalyl chloride) เป็นต้น ออกซาเลต (oxalate) ซึ่งเป็นคู่เบส (conjugate base) ของกรดออกซาลิก ยังเป็นลิแกนด์ที่ดีในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน โดยมีลักษณะเป็น bidentate ligand ซึ่งจะให้ 2 อิเล็กตรอนและจับกลุ่มเป็นวง 5 เหลี่ยม (MO2C2) เช่น potassium ferrioxalate, K3[Fe (C2O4) 3] หรือเป็นยา Oxaliplatin โดยมีโลหะอะตอมกลางเป็นแพลทินัม ใช้ในทางเคมีบำบัดให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

กรดออกซาลิกสลายตัวได้เมื่อโดนความร้อน 120 องศา ขึ้นไป จะพบมากในพืช เช่น พืชตระกูล Sorrel ในกลุ่ม Oxalis หรือที่รู้จักกันคือ ส้มกบ หรือหญ้าเกล็ดหอยจีน

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

 

กรดออกซาลิก (Oxalic acid) เป็นกรดอินทรีย์ที่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป โดยเฉพาะในพืชผัก และผลไม้ แต่พบในผักเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นกรดที่มีความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้ม (Acetic acid) 10,000 เท่า เมื่ออยู่ในรูปของประจุเรียกว่า ออกซาเลต (oxalate) ซึ่งสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับธาตุอื่นทำให้มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ เช่น แคลเซียมออกซาเลต แมกนีเซียมออกซาเลต โซเดียมออกซาเลต และโพแทสเซียมออกซาเลต เป็นต้น

ประโยชน์กรดออกซาลิก
กรดออกซาลิกถือเป็นกรดที่เป็นโทษต่อร่างกายมนุษย์ แต่ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน อาทิ ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นสารเคมีสำหรับเติมเพื่อฆ่าเชื้อโรคในระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

ในอุตสาหกรรมยางพาราใช้กรดออกซาลิกเพื่อปรับสภาพยางก้อนถ้วย

แชร์ให้เพื่อน :

วิธีการใช้โซดาไฟ ให้ถูกวิธีและมีความปลอดภัย

แชร์ให้เพื่อน :

วิธีการใช้โซดาไฟ ให้ถูกวิธีและมีความปลอดภัย

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูวิธีการใช้งานโซดาไฟให้ถูกวิธีและมีความปลอดภัยในการใช้งานกันครับ

 

การใช้โซดาไฟ

โซดาไฟนั้นถือว่าเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จึงนิยมนำมาใช้ทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกในที่ต่างๆ เช่นท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ หรือใช้งานในการทำสบู่ หรือโรงงานต่างๆ เป็นต้น ในทีนี้เราจะกล่าวถึงการใช้โซดาไฟให้ปลอดภัย ซึ่งเน้นการใช้งานโซดาไฟในครัวเรือน

 

การละลายโซดาไฟ

ในการใช้งานโซดาไฟ ต้องละลายโซดาไฟจากโซดาไฟเกล็ดให้ละลายเป็นน้ำเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานซึ่งในขั้นตอนการละลายโซดาไฟควรทำดังนี้

  • ภาชนะที่ใช้ละลายโซดาไฟควรเป็นถังพลาสติกที่หนาๆ หรือถังเหล็กที่ทนทานการกัดกร่อนได้ดี
  • ไม่ควรละลายโซดาไฟในที่อับ ให้ละลายโซดาไฟในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ให้เทน้ำใส่ภาชนะ และค่อยๆ เทโซดาไฟเพื่อละลายและคนเรื่อยๆ เพื่อให้โซดาไฟละลาย ไม่ควรเทน้ำใส่โซดาไฟโดยเพื่อทำการละลายโซดาไฟ เพราะอาจจะเกิดการฟุ้งได้

 

โซดาไฟน้ำที่ละลายแล้วสามารถนำไปใช้งานล้างท่อหรือคราบตะไคร่ หรือเทราดชักชักโครกเพื่อแก้ปัญหาชักโครกตัน หรือราดท่อน้ำ เพื่อแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้


ข้อควรปฏิบัติขณะใช้งานโซดาไฟ

  • สวมถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับโซดาไฟ
  • สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นและกลิ่น เพราะระหว่างที่ใช้งานโซดาไฟจะมีการฟุ้งของโซดาไฟ
  • หากท่านปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น ท่านก็จะมีความปลอดภัยในการใช้งานโซดาไฟ และสามารถใช้โซดาไฟได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

แชร์ให้เพื่อน :

กรดมะนาว (Citric acid)

แชร์ให้เพื่อน :

กรดมะนาว (Citric acid)

กรดมะนาว (Citric acid)

ซิตริกแอซิด โมโนไฮเดรต ทั้งแบบ Food Grade และเกรดงานอุตสาหกรรม

เป็นสารให้ความเปรี้ยวแหลม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ําได้ดี กรดซิตริกโมโน ไฮเดรต จะมีความชื้นมากกว่าแบบแอนไฮดรัส และให้ความเปรี้ยวที่น้อยกว่าแบบแอนไฮดรัส กรดซิตริก เป็น วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่ใช้อย่างกว้างขวางในอาหารและเครื่องดื่ม
สารให้ความเปรียว ให้รสเปรี้ยว อ่อนกว่า ชนิด Anhydrous แต่จะมีราคาถูกกว่า

กรดมะนาวหรือกรดซิตริค (Citric acid) การใช้กรดซิตริกในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ ใช้เพื่อปรับปรุงกลิ่น รส และสี ของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ป้องกันปฏิกิริยาการเกิดสีน้ําตาล และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทําให้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น นอกจากนี้กรดยังช่วยลดอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการแปรรูป แต่การเลือกใช้กรดจะ ต้องขึ้นอยู่กับชนิด ของกรดที่มีอยู่มากในผลไม้นั้นๆ ผลไม้ทั่วๆไป จะมีกรดซิตริค (กรดมะนาว) ส่วนองุ่นมีกรด ทาร์ทาริค (หรือเรียกว่ากรดมะขาม) นอกจากนั้นยังมีการใช้กรดอะซิติค หรือน้ําส้มสายชูในอาหารหมักดองด้วย กรดมะนาวนิยมเติมลงในน้ําลวก หรือน้ําแช่ผัก และผลไม้ก่อนการแปรรูป ช่วยให้สีของผักผลไม้ขาว หรือไม่ เปลี่ยนสี ปริมาณที่ใช้คือ 5 กรัมต่อน้ํา 1 ลิตร แช่นาน 10-15 นาที

ข้อมูลสินค้า ชื่อทั่วไป
กรดซิตริก
– กรดมะนาว ,โมโนไฮเดรต, Citric Acid Monohydrate สารให้ความเปรียว ให้รสเปรี้ยว อ่อนกว่า ชนิด Anhydrous แต่จะมีราคาถูกกว่า

 

คุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี
1. สถานะ : ผงสีขาวใส ไม่มีกลิ่น มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
2. ชื่อทางเคมี :
กรดมะนาว
ซิตริกแอซิด โมโนไฮเดรต
Citric acid
กรดซิตริก
3. สูตรโมเลกุล : C6H8O7
4. รูปผลึกที่พบในปัจจุบัน : Monohydrate (C6H8O7.H2O)
5. ธาตุประกอบ : C 37.51%, H 4.20% และ O 58.29%
6. น้ำหนักโมเลกุล : 192.12 กรัม/โมล
7. ความหนาแน่นที่ 20 ºC : 1.665 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
8. จุดหลอมเหลว : 153 °C
9. การละลายน้ำ
– ที่ 0 ºC : 54.0% (w/w)
– ที่ 20 ºC : 59.2% (w/w) หรือ 133 กรัม/100 มิลลิลิตร
– ที่ 30 ºC : 73.5% (w/w)
– ที่ 70 ºC : 84.0% (w/w)


สูตรโมเลกุล : C6H10O8


แหล่งของกรดซิตริก

แหล่งที่พบกรดซิตริกในธรรมชาติ สามารถเจอได้ตามแหล่งต่างๆดังนี้ 

1. ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะขาม สับปะรด และส้ม เป็นต้น
2. ในกิจกรรมการย่อยของจุลินทรีย์บางชนิด
3. ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งใช้เป็นตัวกลางในกระบวนการ Kreb’s cycle เพื่อการหายใจ

การผลิตกรดซิตริก
กรดซิตริกได้มาจากการหมักคาร์โบไฮเดรต (Fermentation of Carbohydrate) หรือได้มาจากน้ำมะนาว โดยมีการสกัดเป็น Citrate ออกมา ซึ่งจะอยู่ในรูปของ Citric Acid นั่นเอง ดังนั้น กรดซิตริกจึงเป็นกรดที่ได้มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ

ขั้นตอนการผลิต
ในระยะแรก การผลิตกรดซิตริกทำโดยการคั้นมะนาวโดยตรง ซึ่งจะได้น้ำมะนาวที่มีความเข้มข้นของกรดซิตริก ประมาณ 7-9%

ปัจจุบัน การผลิตกรดซิตริก นิยมใช้กระบวนการหมักน้ำตาลกลูโคสกับจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการไกลโคไลซีส (Glycolysis Pathway) ดังแผนภูมิด้านล่าง จนได้สารออกซาโลอะซิเตท (Oxaloacetate) ก่อนสะสม และเปลี่ยนเป็นกรดซิตริก โดยจุลินทรีย์ที่นิยมใช้ ได้แก่
1. เชื้อรา Aspergillus niger
2. ยีสต์ Candida Lypolitica

มะนาวเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกรดซิตริก หรือที่เรียกกรดมะนาว

 


การย่อยสลายตัวของกรดซิตริก
กรดซิตริกย่อยสลายได้ตามธรรมชาติด้วยจุลินทรีย์ ทำให้เกิดสารต่างๆ ได้แก่
– Acetic acid (AA)
– Succinic acid (SA)
– H2O
– CO2


การใช้ประโยชน์

1.การใช้กรดมะนาวหรือกรดซิตริคในอาหาร :
กรดซิตริก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ที่ใช้อย่างกว้างขวางในอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นสารสำคัญในการปรุงรส อาหารให้มีความเปรี้ยวรวมทั้งการการผลิตน้ำส้มสายชูเทียม กรดซิตริก (citric acid) เป็นกรดอินทรีย์ (organic acid) เป็นกรดอ่อน (weak acid)

กรดซิตริกเป็นกรดอ่อนใช้ประโยชน์เพื่อการถนอมอาหารโดยมีบทบาทสำคัญ
ในการเพิ่มรสชาดให้กับอาหารให้มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามีความปลอดภัยในการบริโภค สามารถเติมลงไปในอาหารโดยไม่เกิดอันตราย และสามารถย่อยสลายได้ง่ายและไม่เป็นพิษต่อส่งแวดล้อม

กรดซิตริกเป็นสารสําคัญในการปรุงรส อาหารให้มีความเปรี้ยวรวมทั้งการการผลิตน้ําส้มสายชูเทียม กรดซิต ก (citric acid) เป็นกรดอินทรีย์ (organic acid) เป็นกรดอ่อน (weak acid) มีสูตรโมเลกุล C6H1008 พบ ธรรมชาติในอาหารหลายชนิด เช่น พืชตระกูลส้ม (citrus) มะม่วง สําหรับ ใช้เป็นสารปรุงรสให้รสเปรี้ยวในอาหารและเครื่องดื่ม ไอศครีม ขนม เป็นต้น

  • ใช้เป็นสารกันบูดเพื่อถนอมอาหาร
  • ใช้ในการผลิตน้ํามะนาวเทียม
  • ใช้เป็นสารปรุงรสให้รสเปรี้ยวในอาหารและเครื่องดื่ม ลูกอมต่างๆ

ปริมาณที่ใช้ในอาหาร :
(ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม)เว้นแต่ได้ระบุปริมาณเฉพาะไว้แล้ว)

 

ตัวอย่างการใช้ กรดซิตริค ในอุตสาหกรรมอาหาร

อาหาร ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) เว้นแต่ได้ระบุปริมาณเฉพาะไว้แล้ว
มะกอกดอง - 15,000
อาหารเสริมสำหรับเด็กชนิดแป้ง - 25,000 คำนวณในสภาพที่ปราศจากน้ำ
โพรเซสชีส (processed cheese) - 40,000 ใช้อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับสารกลุ่มฟอสเฟต และปริมาณฟอสเฟตต้องไม่เกิน 9,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นฟอสฟอรัส
ผลิตภัณฑ์นม ยกเว้น นมจืดชนิดเหลว นมเปรี้ยวไม่ปรุงแต่ง ครีมพาสเจอไรซ์ ครีมสเตอริไลส์ ครีมยูเอชที วิปปิ้งครีม ครีมไขมันต่ำ และโพรเซสชีส - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผสมน้ำมัน (อิมัลชัน) เช่น เนยเทียม มินารีน รวมทั้งขนมหวานทำนองนี้ - ปริมาณที่เหมาะสม
ไอศกรีม - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น ผลไม้แห้ง ผลไม้ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง (canning) ขนมหวานจากผลไม้ เป็นต้น - ปริมาณที่เหมาะสม
พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่าง ๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น พืชผักแห้ง พืชผักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง พืชผักแช่เยือกแข็ง เป็นต้น ยกเว้นมะกอกดอง - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง เป็นต้น - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดธัญพืช (cereal grain) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอาหารเช้า ขนมหวานจากธัญพืช แป้งสำหรับชุบอาหารทอด และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เช่น ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมพาย เป็นต้น - ปริมาณที่เหมาะสม
ลิตภัณฑ์เนื้อ ยกเว้นเนื้อสด - ปริมาณที่เหมาะสม
สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ยกเว้นสัตว์น้ำสดและสัตว์น้ำเยือกแข็ง - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ไข่ ยกเว้นไข่สด ไข่เหลว และไข่เยือกแข็ง - ปริมาณที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ประเภทซอส ซุป สลัด และผลิตภัณฑ์โปรตีนสกัด - ปริมาณที่เหมาะสม
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร - ปริมาณที่เหมาะสม
เครื่องดื่ม ยกเว้นน้ำแร่ธรรมชาติ ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดชงและเครื่องดื่มจากธัญพืช - ปริมาณที่เหมาะสม
อาหารทารก - ปริมาณที่เหมาะสม

2.อุตสาหกรรมยา
ยาบางชนิดจำเป็นต้องใช้กรดซิตริกเป็นส่วนผสมเพื่อควบคุมความเป็นกรด-ด่าง หรือใช้เป็นตัวทำละลาย ช่วยให้ยามีการแตกตัว และกระจายตัวได้ดีขึ้น และใช้ป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของยา นอกจากนี้ ยังใช้ผสมในยาบางชนิดเพื่อให้เกิดฟองฟู่ และช่วยเพิ่มรสให้ทานง่าย โดยอาจใช้ร่วมกับคาร์บอเนต เช่น ยาที่มีฟองฟู่ต่างๆ ,ยาลดกรด 


3. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง กรดซิตริกจะถูกใช้เพื่อป้องกันการออกซิไดซ์ ปรับความเป็นกรด-ด่าง หรือเป็นบัฟเฟอร์ (Buffer) ในเครื่องสำอาง เช่น ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาเซทผม ครีมบำรุงผม และครีมทาผิว ทำหน้าที่ช่วยให้ส่วนผสมผสานกันได้ดี และทำให้เกิดความแวววาว


4. ด้านการเกษตร
– ใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยน้ำหรือฮอร์โมนพืช ทำหน้าที่ละลายไขที่เคลือบผิวใบ ช่วยให้สารถูกดูดซึมผ่านใบมากขึ้น
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพสำหรับการฉีดพ่น เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ในพืช
– ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์หรือใช้เป็นอาหารเสริมแก่สัตว์ เพื่อเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร รวมถึงยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ช่วยเสริมสร้างพลังงาน และส่งเสริมกระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกาย


5. อุตสาหกรรมอื่นๆ
– กรดซิตริกในรูปของโซเดียมซิเตรทถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตผงซักฟอก เพื่อใช้แทนสารฟอสเฟต
– กรดซิตริกถูกใช้เป็นสารบัฟเฟอร์ในอุตสาหกรรมการถ่ายภาพ
– กรดซิตริกถูกใช้เป็นส่วนผสมของสารทำความสะอาด น้ำยาเติมหม้อต้มน้ำ (Boiler) รวมถึงใช้ทำความสะอาดโลหะ ล้างสนิม ล้างหมึกพิมพ์ น้ำและสี รวมถึงนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
-เป็นสารดักจับโลหะในน้ํากระด้าง สารกําจัดตะกรัน ผสมในสบู่และสารทําความสะอาดห้อง ครัว ห้องน้ํา ละลายสนิมจากเหล็กสตีล
-ใช้ปรับภาวะความเป็นกรดกรดโดยปรับค่าพีเอชของอาหาร เช่น สารละลายกรดซิตริก

– เป็นสารกันหืน (antioxidant)
– เป็นสารกันเสีย (preservative)
– เป็นสารจับโลหะ (chelating agent)
– เป็นสารทําความสะอาด (cleaning agent)
– ใช้เพื่อปรับภาวะความเป็นกรด โดยใช้ปรับค่าพีเอช (ค่าความเป็นกรดด่าง) ของอาหารเพื่อให้อาหารเป็น อาหารปรับกรด (Acidified food)


ความเป็นพิษของกรดซิตริก
ความเป็นพิษของกรดซิตริกต่อมนุษย์
กรดชิตริก เป็นกรดอินทรีย์มนุษย์สามารถรับประทานหรือใช้เป็นส่วนผสมของอาหารได้ แต่หากรับประทานมากเกินไปหรือมีความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องอืด เนื่องจาก เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร และลำไส้มาก รวมถึงความเป็นกรดอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ง่าย

การหายใจเอาไอของกรดซิตริกเข้าไปจะทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง มีอาการแสบคอ คันคอ และไอตามมา แต่ก็ถือว่าไม่ได้มีอันตรายที่ร้ายแรงสำหรับมนุษย์

การจัดเก็บ :
การจัดเก็บกรดซิตริกจัดเก็บสินค้าไว้ในที่แห้งและเย็น ไม่ให้ถูกความชื้นและแสงแดด (สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้) โดยทำการชีลปิดปากถุงให้สนิททุกครั้งหลังการใช้งาน

 

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟใช้ล้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟใช้ล้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์

สวัสดีครับ วันนี้เรานำความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโซดาไฟเพื่อฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดคอกหมู, เล้าไก่ ,ฟาร์มวัว เนื่องด้วยช่วงนี้มีการระบาดของโรคโควิด 19 และทุกฟาร์มก็คำนึงถึงความสะอาดของฟาร์มเป็นอันดับแรก

การใช้โซดาไฟเพื่อประโยชน์ในการปศุสัตว์ โซดาไฟสามารถใช้งานเพื่อฆ่าเชื้อในฟาร์มได้เป็นอย่างดี โดยโซดาไฟเกล็ด 99%นการล้างคอกเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และทำความสะอาดคอกได้

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • โซดาไฟ ความเข้มข้น 90% ขึ้นไป โดยใช้ในอัตราส่วน 1:100 ( โซดาไฟ 1 ส่วน : น้ำ 100 ส่วน )
  • โซดาไฟน้ำ สามารถหาซื้อได้ มีความเข้มข้น 32% และ 50%

 

ข้อดีของการใช้โซดาไฟทำความสะอาดฟาร์ม

  • ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในฟาร์มได้เป็นอย่างดี
  • ประหยัดเพราะไม่ต้องซื้อน้ำยาทำความสะอาดในราคาที่แพง โซดาไฟมีราคาถูกมาก
  • สามารถใช้ทำความสะอาดเพื่อเตรียมฟาร์มสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้
  • สามารถใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

ขั้นตอนการล้างคอกสัตว์โดยใช้น้ำผสมโซดาไฟ (เพื่อฆ่าเชื้อ)

1.จัดเตรียมโซดาเกล็ดความเข้มข้น 99%
2.ผสมโซดาไฟกับน้ำ อัตราส่วน 1-2 กิโลกรัม/น้ำ 100 ลิตร
3.ทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำเปล่า ก่อนทำความสะอาดด้วยน้ำผสมโซดาไฟ *ควรทำความสะอาดช่วงไม่มีสัตว์เลี้ยงหรือก่อนลงสัตว์เลี้ยง
4.ล้างด้วยน้ำโซดาไฟ ให้ทั่วทั้งฟาร์ม
5.ล้างทำความสะอาดฟาร์มอีกรอบด้วยน้ำสะอาด และรอให้แห้ง

* ใช้ฉีดล้าง ทำความสะอาดฟาร์มเพื่อความสะอาดของฟาร์ม
* ข้อมูลโดยละเอียดให้สอบถามสัตวแพทย์ที่ให้การดูแลฟาร์ม



การใช้โซดาไฟกับฟาร์มหมู
ใช้โซดาไฟทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงหมู ก่อนทำการเลี้ยงหมูรุ่นต่อไป การใช้โซดาไฟ สามารถใช้ได้กับโรงเรือนเลี้ยงหมูได้ทุกครั้งที่ต้องการล้างโรงเรือน หรือเล้าหมู 

 

 


การใช้โซดาไฟกับฟาร์มวัว

การใช้โซดาไฟล้างคอกวัว
เราสามารถใช้โซดาไฟล้างคอกวัวได้ โดยใช้โซดาไฟความเข้มข้น 90% ขึ้นไป โดยใช้ในอัตราส่วน 1:100 ( โซดาไฟ 1 ส่วน : น้ำ 100 ส่วน ) นำมาทำความสะอาดคอก เพื่อความสะอาดและเป็นการฆ่าเชื้อโรค

 

การใช้โซดาไฟล้างอุปกรณ์รีดนมวัว
การแช่อุปกรณ์ในสารละลายโซดาไฟ
เป็นการล้างทําความสะอาดพวกคราบน้ํานมที่เป็นไขมัน โปรตีนที่สะสมอยู่ตามรอยแตกของยางยาง รีดนมและรอยข้อต่อต่างๆ

อุปกรณ์ที่จําเป็น
1. ถังน้ําหรือตุ่มที่มีฝาปิด และบรรจุน้ําได้ไม่ต่ำกว่า 20 ลิตร
2. โซดาไฟชนิดเกล็ด

ขั้นตอนการล้าง
เตรียมสารละลายโซดาไฟ (โซดาไฟเกล็ด 99%)โดยใช้เกล็ดโซดาไฟ 1 ก.ก. ละลายในน้ํา 40 ลิตร (1 ถังส่งนม) ในถังน้ําหรือตุ่มที่มีฝาปิด และอยู่ในร่มไม่มีแดดส่องถึงและการระบายอากาศดี ล้างทําความสะอาดตามขั้นตอนการล้างทําความสะอาดคราบไขมันและโปรตีน นําอุปกรณ์ส่วนที่เป็นยางและโลหะ ลงแช่ในสารละลายโซดาไฟที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
อุปกรณ์ที่ทั้งหมดจะแช่อยู่ในน้ําโซดาไฟจนกระทั่งมือรีดนมต่อไป

• ก่อนเวลารีดนมมื้อต่อไป ประมาณ 1 ชั่วโมง นําอุปกรณ์รีดนมทั้งหมดที่แช่ไว้ในสารละลาย
โซดาไฟ มาล้างด้วยน้ําที่สะอาดแล้วพึ่งให้แห้งในร่ม

หมายเหตุ

• การเตรียมสารละลายโซดาไฟแต่ละครั้ง สามารถใช้งานได้นาน ประมาณ 1 เดือน ถ้าใน สารละลายมีตะกอนหรือสิ่งสกปรก เช่น น้ํานม เจือปนจะทําให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อและการทําความ สะอาดด้อยลง ดังนั้น ควรจะเปลี่ยนน้ําโซดาไฟ ทุก 15 วัน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทําความสะอาดของ สารละลายโซดาไฟดีขึ้น ถ้าหากมีหัวรีดนมเพียงชุดเดียว ควรจะใช้เกล็ดโซดาไฟ 0.5 ก.ก. ผสมน้ํา 20 ลิตร (1 ถังรีดนม)
• ห้ามนําตัวควบคุมจังหวะการรีดนม หรือหัวใจการรีดนม และอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติก เช่น ถ้วยรวมนม ลงแช่ในสารละลายโซดาไฟ เพราะจะทําให้อายุการใช้งานของพลาสติกลดลง แต่ให้ใช้ผ้าที่สะอาด เช็ดทําความสะอาดก็พอ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการแช่อุปกรณ์รีดนมในน้ําโซดาไฟ
• ถังหรือภาชนะที่บรรจุสารละลายโซดาไฟ ควรจะเลือกชนิดที่ไม่ถูกกัด หรือไม่ทําปฏิกิริยากับ โซดาไฟ
• ก่อนล้างทําความสะอาดควรแยกชิ้นส่วนออกจากกันก่อนโดยเฉพาะตัวควบคุมจังหวะรีดควร แยกออกเช็ดทําความสะอาด แล้วแยกไว้ต่างหาก
• ล้างอุปกรณ์รีดนมด้วยน้ําเปล่าให้สะอาด ก่อนนําลงแช่ในสารละลายโซดาไฟ จะช่วยให้การ ฆ่าเชื้อโรคของโซดาไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ถ้าหากเป็นอุปกรณ์การรีดนมที่เคยผ่านการใช้งานมานานและยังไม่เคยแช่ในสารละลาย โซดาไฟมาก่อน ดังนั้น ก่อนจะนําอุปกรณ์เหล่านี้แช่ในสารละลายโซดาไฟ ต้องล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ ทั้งหมดให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทําได้
• ถ้าการแช่สารละลายโซดาไฟในครั้งแรก จะสังเกตเห็นเศษสิ่งสกปรก หรือคราบน้ํานมถูกกัด และลอยขึ้นมา ถ้าสารละลายโซดาไฟอุ่นให้เปลี่ยน ประมาณ 2-3 วัน หลังจากที่เริ่มแช่ครั้งแรก หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนทุก 15 วัน
• ควรจะใส่ถุงมือ หรือใช้เชือกผูกกับอุปกรณ์รีดนม เพื่อสะดวกในการนําอุปกรณ์ที่แช่ในน้ํา โซดาไฟขึ้นมาล้างด้วยน้ําสะอาด การใช้มือจุ่มลงในสารละลายโซดาไฟโดยตรง จะทําให้ผิวหนังถูกน้ําโซดาไฟกัด

 

 

 


การใช้โซดาไฟกับฟาร์มไก่
โซดาไฟ สามารถใช้ผสมกับน้ำ เพื่อนำมาทำความสะอาดฟาร์มไก่ เพื่อล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคได้ หากมีโรคระบาดสามารถใช้โซดาไฟล้างทำความสะอาดเพื่อป้องกันโรคระบาดได้
* ใช้โซดาไฟผสมน้ำเพื่อล้างทำความสะอาดฟาร์มก่อนและหลังเลี้ยงไก่ แต่ละรุ่น
* ใช้โซดาไฟล้างเพื่อป้องกันในช่วงที่เกิดโรคระบาด

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟไข่มุกอาซาฮี 99%

แชร์ให้เพื่อน :

โซดาไฟไข่มุกอาซาฮี 99%

Caustic Soda Micropearls (ASAHI) 99%

CAUSTICSODA 99% MICROPEARLS ยี่ห้ออาซาฮี

โซดาไฟอาซาฮี

เป็นโซดาไฟที่ผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท AGC VINYTHA ลักษณะของโซดาไฟเป็นทรงกลม คล้ายไข่มุกลูกเล็กๆ บรรจุในถุงพลาสติก 25 กิโลกรัม บรรจุในถุงกระสอบอีกชั้น

โซดาไฟไข่มุก

ความเข้มข้น : 99%
ยี่ห้อ : AGC VINYTHAI ยี่ห้อที่ผลิตในประเทศไทย
ขนาดบรรจุ : 25 กิโลกรัม

ลักษณะเด่น :

1. ไข่มุกสีขาวบริสุทธิ์.
2. ได้รับการรับรอง เป็นวัตถุเจือปนอาหาร

ข้อดีของการใช้โซดาไฟไข่มุก

1.มีความบริสุทธิ์สูงกว่าแบบเกล็ด ไม่มีฝุ่นละอองขณะใช้งาน ใช้งานได้ง่าย
2.สามารถละลายน้ำได้เป็นอย่างดี
3.ได้รับการรับรอง COA และ อย.ไทย และรับรอง NSF – สมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นโซดาไฟ Food grade (โซดาไฟเกรดอาหาร) ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารได้

 

การใช้งาน

1.ใช้ในอุตสาหกรรมเช่นการทำสบู่ การทำน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ
2.ใช้ในอุตสหกรรมซักฟอกเส้นใยผ้า
3.ใช้ในการบำบัดนำ ปรับสภาพน้ำ
4.ใช้ในครัวเรือนทั่วไป เช่นล้างทำความสะอาด , แก้ปัญหาท่อตัน


แชร์ให้เพื่อน :

วิธีล้างตลาดเพื่อป้องกันโควิด 19

แชร์ให้เพื่อน :

วิธีล้างตลาดเพื่อป้องกันโควิด 19

ช่วงนี้ เป็นช่วงระบาดของโควิด ดังนั้นความสะอาดของสถานที่ต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการทำความสะอาดสถานที่บ่อยๆ จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคโควิดได้

ตลาดสดเป็นสถานที่หน่ึงที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ และมีผู้คนแออัดกันค่อนข้างมาก ทั้งนี้ยังมีความเปียกชื้น หรืออาจจะไม่ค่อยปลอดโปร่ง ทำให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ได้ เช่น ตลาดกลางกุ้งที่จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีการแพร่กระจายของโรคจำนวนมาก

โซดาไฟใช้ล้างทำความสะอาดตลาดสด ที่สกปรก 

วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการทำความสะอาดตลาดง่ายๆ กันโดยใช้อุปกรณ์ที่เรารู้จักเป็นอย่างดี เช่น
1.โซดาไฟ
2.คลอรีน

โซดาไฟและคลอรีน สามารถใช้ผสมน้ำ ล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคได้

 

ข้อแนะนำขั้นตอนการล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในช่วงการเกิดโรคระบาด

สารเคมีทั้ง 2 ตัว โซดาไฟและคลอรีน สามารถที่จะฆ่าเชื้อโรคโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี โดยขั้นตอนการล้างตลาด สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ส่วนผนังหรือเพดาน ของตลาด ทำความสะอาดเพดาน ฝาผนัง ของอาคารหรือตลาด
  2. บริเวณแผงขายขายเป็นส่วนที่คนมีกจะสัมผัสและใช้งานมากที่สุด ให้ทำความสะอาดแผงขายของ ทั้งแผงของสดและของแห้งและทางระบายน้ำเสียรวมทั้งกำจัดสัตว์ หรือแมลงนำโรค หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านั้น
  3. บนแผงขายของหรือพื้นที่มีคราบไขมันจับหนา ให้ใช้โซดาไฟ 99% 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ส่วน 2 ปี๊บ ราดทิ้งไว้ 15 – 30นาทีและใช้แปรงลวดถูให้สะอาด ส่วนบริเวณอื่นให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือผงชักฟอกในการล้างทำความสะอาด
  4. ใช้น้ำสะอาด รดล้างแผงของสด ทางเดิน ฝาผนังลงสู่ทางระบายน้ำเสียเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก และสารเคมีออก
  5. ใช้ผงคลอรีน 90% 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ปี๊บใส่ลงในฝักบัวรดน้ำ รดบริเวณแผง เขียง ทางเดิน ทางระบายน้ำเสียให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ เพื่อฆ่าเชื้อโรค และกำจัดกลิ่นส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาว ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเจือจางราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว ( กรณีเกิดโรคระบาดต้องฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนทุกวัน )
  6. หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วมโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้โซดาไฟหรือคลอรีน ผสมน้ำเพื่อทำความสะอาดก็ได้
  7. บริเวณที่พักขยะ ต้องรวบรวมขยะไปกำจัดให้หมดและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจจะใช้คลอรีนหรือโซดาไฟ ทำความสะอาด
  8. กวาดหยักไย่ หรือ เศษสิ่งสกปรกที่ติดบน ฝาผนัง  โคมไฟ  พัดลม

***กรณีเกิดโรคระบาดต้องล้างตลาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และผู้ล้างต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย รวมทั้ง Face shield และสวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หลังปฏิบัติงานเสร็จมุกครั้ง เพื่อป้องการการติดต่อของโรคระบาดอย่างเช่น โควิด19

โซดาไฟเป็นเกล็ด สีขาวขุ่น สามารถฆ่าเชื้อโรคได้

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.phsmun.go.th/news.php?news_id=9980

แชร์ให้เพื่อน :

การทำความสะอาด คราบน้ำบนกระจกหรือก๊อกน้ำด้วยกรดมะนาว

แชร์ให้เพื่อน :

การทำความสะอาด คราบน้ำบนกระจกหรือก๊อกน้ำด้วยกรดมะนาว หรือกรดซิตริก

การทำความสะอาดก็อกน้ำ อ่างล้างหน้า ด้วยกรดมะนาว
สวัสดีครับ วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับกรดชนิดหนึ่งที่ช่วยในเรื่องการทำความสะอาดได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ กรดมะนาว นั่นเอง

กรดมะนาวคืออะไร ,กรดซิกตริกคืออะไร

กรดมะนาว (Citric Acid) เป็นกรด ชนิดหนึ่ง เป็นของแข็ง สีขาว ไม่มีกลิ่น

ลักษณะภายนอกของกรดมะนาว

  • เป็นเกล็ดสีขาว เล็กๆ คล้ายน้ำตาล
  • ไม่มีกลิ่น
  • ละลายน้ำได้ดี ความชื้นน้อย

Citric Acid Monohydrate (กรดมะนาว โมโนไฮเดรต) สารให้ความเปรียว ให้รสเปรี้ยว อ่อนกว่า ชนิด Anhydrous แต่จะมีราคาถูกกว่า

กรดซิตริกได้มาจากการหมักคาร์โบไฮเดรต (Fermentation of Carbohydrate) หรือได้มาจากน้ำมะนาว โดยมีการสกัดเป็น Citrate ออกมา ซึ่งจะอยู่ในรูปของ Citric Acid นั่นเอง ดังนั้น กรดซิตริกจึงเป็นกรดที่ได้มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ

 

การใช้ประโยชน์กรดมะนาวหรือกรดซิตริก :

เป็นวัตถุเจือปนอาหารสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีหน้าที่ดังนี้
1. ใช้ปรับภาวะความเป็นกรดกรดโดยปรับค่าพีเอชของอาหาร เช่น สารละลายกรดซิตริกความเข้มข้น 5% มีค่าพี่เอชเท่ากับ 1.87
2. ปรุงแต่งกลิ่น รส (flavoring agent) ปรับให้อาหารมีรสเปรี้ยว ใช้ในเครื่องปรุงรส ลูกอม ลูกกวาด
3. เป็นสารกันหืน (antioxidant)
4. เป็นสารกันเสีย (preservative)
5. เป็นสารจับโลหะ (chelating agent)
6. เป็นสารทำความสะอาด (cleaning agent)


การใช้งานกรดมะนาว

กรดมะนาว หรือกรดซิตริก ใช้ทำอะไรได้บ้าง

– เป็นสารทำความสะอาด ใช้ปรับค่า PH สามารถละลายน้ำได้ มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม
– นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ซักล้างต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน ซักผ้า ถูพื้น และทำความสะอาดต่างๆ
– อุตสาหกรรมทำความสะอาด: กรดมะนาวใช้เป็นตัวปรับค่ากรดด่างในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ใช้เป็นตัวขจัดคราบตะกรันในระบบท่อหรือหม้อต้ม ใช้ลดความกระด้างของน้ำ ใช้ผสมกับน้ำยาล้างห้องน้ำกลายเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำสูตรกรดมะนาว
– อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์: ใช้เป็นตัวปรับค่า pH ในครีมหรือเจล
– อุตสาหกรรมย้อมสี: ใช้เป็นตัวปรับค่า pH ในสีผสมอาหาร
– อุตสาหกรรมก่อสร้าง: ใช้แทนกรดไนตริก
– อุตสาหกรรมอาหาร: ใช้เป็น emulsifier ในไอศครีมได้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมะนาว
– เป็นกรดอ่อนที่ใช้ประโยชน์เพื่อการถนอมอาหารโดยมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ทำให้อาหารมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ซึ่งได้รับการยอมรับในเรื่องความปลอดภัย
– ใช้ทำความสะอาดบ้านได้โดยตรง


การทำความสะอาดคราบน้ำตามกระจก ก็อกน้ำ ด้วยกรดมะนาว

วิธีทำความสะอาดคราบน้ำ ตามกระจก หรือก๊อกน้ำ ในห้องน้ำด้วยกรดมะนาว

หลายๆคนคงเคยประสบปัญหาคราบน้ำติดตามกระจก ที่ขจัดออกยาก บางครั้งก็ฝังแน่นเช็ดออกลำบากสุด วันนี้เรามีวิธีทำความสะอาดคราบดังกล่าวแบบง่ายๆมาแนะนำกัน ซึ่งสามารถกำจัดคราบน้ำที่ติดกระจก หรือ ก็อกน้ำ ฝักบัว ให้สะอาดง่ายๆ ด้วยสิ่งที่ถูกมาก ทำเองได้ แต่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
และวิธีการทำก็ง่ายมากๆ

ส่วนผสม
– น้ำ 500 มิลลิลิตร
– กรดมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
– น้ำยาล้างจาน 1-2 ช้อนชา

ขั้นตอนการทำ
1.ผสมน้ำ 500 ml ใส่ Citric Acid 1 ช้อนโต๊ะ (หากไม่มีเอาน้ำส้มสายชูกลั่นแทนได้)คนให้ละลาย
2.ผสมน้ำยาล้างจาน 1-2 ช้อนชา เป็นตัวลดแรงตึงผิวเพื่อให้มันไม่เกาะเป็นหยด จะได้คลุมพื้นผิวแล้วละลายคราบน้ำออกได้ดีขึ้น กับช่วยเอาคราบสกปรก คราบมันเล็กน้อยออก และช่วยให้มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตามกลิ่นน้ำยาล้างจาน
3.เทใส่ขวดสเปรย์เพื่อให้ใช้ง่าย
4.ฉีดให้ทั่วแบบไม่ต้องกลัวเปลือง ทิ้งเอาไว้สัก 2 – 3 นาที แล้วเอาใยขัดห้องน้ำแบบไม่ทำลายพื้นผิวขัด แล้วสาดน้ำล้างให้หมด
5.เอาที่รีดน้ำกรีดออก เอาแผ่นฟองน้ำซับน้ำซับจุดที่กรีดไม่สะดวกออก เช็ดด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้า

 

ข้อดีของการทำความสะอาดคราบบนกระจกด้วย กรดมะนาว

1.ข้อดีคือ ถูกมาก ราคากรดมะนาวไม่แพง
2.กลิ่นไม่แรง ไม่เวียนหัวเวลาใช้เยอะ ๆ ถ้าขยันใช้แบบว่าอาบน้ำเสร็จแล้วสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ฉีดกระจก ฉีดก็อกทิ้งไว้ 2 นาทีโดยไม่ต้องขัด แล้วฉีดน้ำล้าง มันก็จะไม่มีคราบสะสมจนจัดการยาก เอาพวกผ้าฟองน้ำซับน้ำออก มันก็จะดูใหม่เอี่ยมตลอดเวลา

ข้อเสีย

ข้อเสียของการใช้กรดมะนาว ทำความสะอาด
1.ไม่น่าจะเหมาะกับห้องน้ำที่มีคราบราดำ หรือสกปรกมาก มันต้องมีอย่างอื่นมากกว่านี้เพื้อเอาราดำออก

ข้อควรระวัง

กรดมะนาวเป็นกรด เช่นเดียวกับน้ำยาทำความสะอาดที่มีขายกัน ที่ผสม citric acid เวลาใช้ให้ระวังอย่างให้โดนผิวหรือตา อย่าสูดละอองเข้าไป ควรใส่แว่น ปิดปาก และสวมถุงมือทุกครั้ง

แชร์ให้เพื่อน :